|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.45 นาฬิกา ณ ห้องทำงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 9 อาคารรัฐสภา ว่าที่ ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานกรรมการการวิจัยและพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาวิชาการเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการสนับสนุนภารกิจของฝ่ายนิติบัญญัติ เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
โอกาสนี้ ว่าที่ ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ กล่าวเปิดโครงการสัมมนาใจความว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาฯ ในวันนี้ในนาม เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และประธานกรรมการการวิจัยและพัฒนาขอเรียนให้ทราบว่า เมื่อปี 2566 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมการการวิจัยและพัฒนา ได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย เรื่อง "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560" วิจัยโดย ดร.สลิลธร ทองมีนสุข รายงานวิจัยเรื่องดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในด้านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนการจัดทำร่างกฎหมาย ศึกษารูปแบบ วิธีการ และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นโดยพิจารณาประเด็นทั้งในด้านกฎหมายและช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมาย ตลอดจนเสนอแนวทางพัฒนาการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการออกกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้ ในส่วนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปสู่ภาคประชาชน ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งได้กำหนดรูปแบบและวิธีการรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย ทั้งการรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งประเด็นรับฟังความคิดเห็นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นด้วยวิธีการอื่น เช่น การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และสถานีโทรทัศน์รัฐสภา TPTV ช่อง 10 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมายตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวดังนั้น เพื่อให้เกิดการขยายผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการต่อยอดงานวิจัยเรื่องดังกล่าว ผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก กลุ่มผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนภารกิจด้านการตรากฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 และการดำเนินงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต่อไป จึงได้มีการจัดโครงการขึ้น
ทั้งนี้ ขอขอบคุณ ดร.สลิลธร ทองมีนสุข นักวิจัย ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า และนายจุมพล นิติธรางกูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนากฎหมายกองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะวิทยากรบรรยายและร่วมเสวนาในหัวข้อดังกล่าว รวมถึงผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่านในวันนี้และขอให้การจัดโครงการครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ สำหรับโครงการดังกล่าวจัดโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ในการออกกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้เกิดการขยายผลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการต่อยอดงานวิจัยเรื่องดังกล่าวผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก กลุ่มผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนภารกิจด้านการตรากฎหมายของสภาผู้แทน ราษฎร และการดำเนินงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต่อไป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปสู่ภาคประชาชน คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งคณะอนุกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ข้าราชการสำนักกฎหมาย สำนักวิชาการ สำนักกรรมาธิการ 1 2 และ 3 สำนักการประชุม สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักสารสนเทศ และสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|