|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน กรุงเทพฯ ว่าที่ ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้ นางฑิฆัมพร กาญจโนภาศ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะและนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย ในงานวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2567 ซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลถึงความสำคัญของช่างฝีมือต่อการพัฒนาประเทศ ดังพระราชดำรัสในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2513 ความตอนหนึ่งว่า ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่าง จึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน วิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดี และเพียงพอกับความต้องการ ในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่ 3 ประการ ประการแรก ได้แก่ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ ประการที่ 2 ได้แก่ปัญหาเรื่องฝีมือ ซึ่งต้องปรับปรุงให้มีความประณีต และประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริง ๆ ประการที่ 3 ได้แก่ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่ายการช่วยเหลือ
ทั้ง 3 ประการนี้ จะต้องกระทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้ และผลกำไรสำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า ข้าพเจ้าใคร่ขอฝากความคิดทั้งนี้ไว้เป็นแนวปฏิบัติของท่านทั้งหลายต่อไป จากกระแสพระราชดำรัสแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการทำงานที่มีความเป็นมาตรฐาน การพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานให้ก้าวทันกับวิทยาการ และการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชน แม้เวลาจะผ่านมาถึง 54 ปีแล้ว แต่พระราชดำรัสที่พระราชทานให้ยังคงทันสมัยอยู่เสมอ และนับวันจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระทรวงแรงงาน ได้น้อมนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงานในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพกำลังแรงงานให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับสากล การจัดทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เพื่อให้แรงงานได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น รวมไปถึงการจัดหางานที่เหมาะสมกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|