กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์


เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 16.00 – 17.00 นาฬิกา นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นชุดการสัมมนาออนไลน์ที่สหภาพรัฐสภาจัดขึ้นต่อเนื่องรวม 3 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2/3 ในหัวข้อ “The Emerging Impacts of Artificial Intelligence on Society” โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการเตรียมการสำหรับการจัดทำข้อมติของคณะ กมธ.สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน หัวข้อ “The Impact of Artificial Intelligence on Democracy, Human Rights and the Rule of Law” ซึ่งจะได้มีการอภิปรายร่างข้อมติดังกล่าวในการประชุมสมัชชา IPU ครั้งที่ 148 ในเดือน มี.ค. 67

ก่อนที่จะมีการพิจารณารับรองข้อมติดังกล่าวในการประชุมสมัชชา IPU 149 ในเดือน ต.ค. 67 การประชุมฯ ในครั้งนี้ มี Ms. Neema Lugangira สมาชิกรัฐสภาแทนซาเนีย ในฐานะผู้ร่วมนำเสนอรายงาน (Co-rapporteur) ข้อมติเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีวิทยากรจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ Mr. Joel Blit ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู แคนาดา Mr.Philip Thigo ที่ปรึกษารัฐบาลเคนยาและสมาชิกคณะที่ปรึกษาระดับสูงของสหประชาชาติว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ และ Mr. Tawfik Jelassi ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ ยูเนสโก วิทยากรได้นำเสนอขั้นตอนของการดำเนินการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ 3 ซึ่งมี 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ  
1) Replace (การแทนที่) เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่ โดยส่วนใหญ่เข้ามาแทนกำลังคน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการที่ใช้อยู่ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาแทนที่เครื่องจักรไอน้ำในโรงงาน

2) Reimagine (คิดใหม่) เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้เกิดการคิดใหม่ในกระบวนการ โครงสร้าง และรูปแบบธุรกิจจนเสร็จสิ้นกระบวนการ เช่น พื้นของโรงงานได้รับการออกแบบใหม่เพื่อให้การไหลของวัตถุดิบเกิดประโยชน์สูงสุด ในกระบวนการ Reimagine นี้ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI สามารถรวบรวมและประเมินข้อมูลจำนวนมหาศาลในเวลาอันรวดเร็วซึ่งอาจนำมาช่วยในเรื่องการจ้างพนักงาน เช่น กำหนดทักษะที่บริษัทหรือหน่วยงานต้องการ ระบุเป้าหมายที่ต้องการ กำหนดรายละเอียดลักษณะงาน และเขียนหนังสือเชิญเพื่อทำการสัมภาษณ์

3) Recombine (การรวมตัวกันใหม่) เป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีใหม่กับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ขึ้นทั้งหมด เช่น การรวมตัวกันของเทคโนโลยีใหม่กับที่มีอยู่ในด้านไฟฟ้า เช่น อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ควบคุมการไหลหรือปิดกั้นกระแสไฟฟ้า และวัสดุชิปกึ่งตัวนำไฟฟ้า การโทรคมนาคมและหุ่นยนต์ เป็นต้น

เครดิต : ข่าวและภาพโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th