กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์


เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 67 เวลา 16.00 - 18.00 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภา (Member of the IPU Working Group on Science and Technology : WGST) เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคณะทำงานฯ ซึ่งนับเป็นการประชุมออนไลน์ครั้งแรกของคณะทำงาน ในปี 2567 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจากไอร์แลนด์ เช็ก โรมาเนีย ฮังการี เคนยา มาเลเซีย มอลโดวา จีน โบลิเวีย และไทย พร้อมด้วยเลขาธิการสหภาพรัฐสภา และฝ่ายเลขานุการฯ โดยมี Mr. Denis Naughten สมาชิกรัฐสภาไอร์แลนด์ ในฐานะประธานคณะทำงาน WGST ทำหน้าที่ประธานการประชุม

การประชุมเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับพร้อมอวยพรปีใหม่จากประธานคณะทำงาน WGST และเลขาธิการสหภาพรัฐสภา จากนั้น ที่ประชุมได้รับรองระเบียบวาระการประชุม พร้อมทั้งรับทราบการรายงานจากประธานและสมาชิกคณะทำงานฯ ในการเข้าร่วมการประชุม Forum on the Future of Evidence-Based Policy ระหว่างวันที่ 14 – 16 ธ.ค. 66 ที่ผ่านมา ซึ่งมีผลลัพธ์ของการประชุมเป็น the White Paper on the future of evidence-based policy และได้ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาของร่างเอกสาร IPU Charter on the Ethics of Science and Technology for Parliaments ฉบับล่าสุด 

ในการนี้ ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ กล่าวแสดงความชื่นชมต่อที่ประชุมว่า ร่างเอกสารฉบับนี้มีความครอบคลุม กระชับ สื่อสารได้อย่างตรงเป้าชัดเจน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับเปลี่ยนการใช้ถ้อยคำให้สอดคล้องกันตลอดทั้งฉบับ ในส่วนของคำว่านักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ รวมถึงการใช้ถ้อยคำที่แสดงถึงอิสระและขอบเขตด้านจริยธรรมของงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอแนะดังกล่าวทั้งหมด และจะมีการแจ้งเวียนร่างเอกสารฉบับปรับปรุงให้แก่สมาชิกคณะทำงานฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันในการประชุมครั้งถัดไป ในเดือน ก.พ. 67 ก่อนที่จะนำไปแจ้งเวียนเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิกและผู้เชี่ยวชาญ ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 148 ในช่วงเดือน มี.ค. 67 ต่อไป

จากนั้น ที่ประชุมได้รับทราบกรอบระยะเวลาการขอความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจว่าด้วยการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐสภาและชุมชนวิทยาศาสตร์ รวมทั้งกำหนดการในการเข้าเยี่ยมชมองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (CERN) ที่นครเจนีวา ในช่วงเช้าของวันที่ 26 มี.ค. 67 ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 148 และรับฟังการนำเสนอของหน่วยงาน Global Curriculum for Science and Diplomacy (GESDA) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2019 โดยที่ประชุมได้ร่วมอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในการร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานในอนาคต

เครดิต : ภาพและข่าว โดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th