กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์


เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา10.30 นาฬิกา ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฟิลิปปินส์ ในการอภิปรายโต๊ะกลมของยุวสมาชิกรัฐสภา (Roundtable Discussion of Young Parliamentarians) หัวข้อ “เทคโนโลยีดิจิทัล” (Parliamentary Roundtable on ‘Digital Technologies’) ผู้แทนรัฐสภาไทย จำนวน 3 คน ได้แก่ นางสาวณัฐจิรา อิ่มวิเศษ นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ และนางสาวจิรัชยา สัพโส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทยได้เข้าร่วมการอภิปรายดังกล่าว โอกาสนี้ นางสาวณัฐจิรา อิ่มวิเศษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ “เทคโนโลยีดิจิทัล” ในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีในด้านการศึกษา โดยนำเสนอว่า การดำเนินชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น จากสถิติข้อมูลในปี 2566 ประชากรโลกที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีประมาณ 5.4 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67 อย่างไรก็ดี ยังมีประชากรโลกอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัล ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อโอกาสในอนาคตของประชาชนและขยายความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้านอื่น ๆ รวมทั้งด้านการศึกษาด้วย

ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรงเรียนและสถานศึกษาต้องปิดทำการเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งส่งผลให้นักเรียนประมาณ 1.6 พันล้านคน ในกว่า 190 ประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบ รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ พยายามที่จะจัดการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ แต่ไม่ใช่นักเรียนทุกคนที่สามารถเข้าถึงรูปแบบการศึกษานี้ได้ ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตได้ส่งผลต่อโอกาสทางการศึกษาของเยาวชน และยังส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพและรายได้อีกด้วย ดังนั้น การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลจึงควรเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับเพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการของรัฐและมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ ยุวสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเป็นบุคคลที่สามารถเข้าใจทัศนคติและความต้องการของเยาวชนเป็นอย่างดี จึงต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่เพื่อให้มั่นใจว่าเยาวชนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสามารถป้องกันตนเองจากอาชญากรรมไซเบอร์ และการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

เครดิต : ภาพและข่าวโดยสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th