|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
เมื่อวันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติฟิลิปปินส์ ในการประชุมเต็มคณะ วาระที่ 3 ด้านความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ และนางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมการประชุมเต็มคณะวาระที่ 3 ด้านความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยผู้แทนฯ ทั้ง 2 คน ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม โดยนายร่มธรรม ขำนุรักษ์ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาในฐานะเครื่องมือที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะเป้าหมายย่อยที่ 4.7 ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ดี แม้ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย SDGs ที่ 4 แล้ว แต่ยังคงมีความท้าทายบางประการที่ต้องดำเนินการต่อไป อาทิ การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับโรงเรียนที่ห่างไกล การพัฒนาหลักสูตรที่ต้องปรับตามยุคสมัย และการจัดสวัสดิการต่าง ๆ สำหรับบุคลากรทางการศึกษา ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดนโยบายเรียนฟรี 12 ปี และมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินการและกำหนดทิศทางเพื่อการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสูงและมีมาตรฐาน นอกจากนี้ รัฐบาลได้เน้นย้ำการยกระดับระบบการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการดำเนินนโยบาย เรียนดีมีความสุข เพื่อลดภาระและข้อกังวลของผู้ปกครองและนักเรียน อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีความพยายามยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นโดยผ่านการบัญญัติกฎหมายหลายฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานการศึกษาให้เหมาะสม พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พระราชบัญญัติกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และสุดท้ายได้เน้นย้ำถึงกลไกของรัฐสภาในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ส่งเสริมการบัญญัติกฎหมายด้านการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ ได้กล่าวถึงสิทธิด้านสุขภาพในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งรัฐบาลควรต้องจัดให้มีการดูแลสุขภาพที่เข้าถึงได้และราคาไม่แพงสำหรับทุกคน และแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของระบบสุขภาพ โดยเห็นว่าระบบการดูแลสุขภาพที่เข้มแข็ง มีความเสมอภาค และฟื้นตัวได้จะเป็นรากฐานสำคัญในการป้องกันโรคและการตอบสนองในสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งแบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินการและกฎหมายต่าง ๆ ของไทยที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าระบบการดูแลสุขภาพของประเทศไทยและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะประสบความสำเร็จในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 3.8 บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แล้ว แต่ยังคงมีความท้าทายที่สำคัญสำหรับเป้าหมายที่ 3 สุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี และไทยยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้ระบบดียิ่งขึ้นและบรรลุเป้าหมายที่ 3 ภายในปี 2573
เครดิต : ภาพและข่าวโดยสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|