|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติฟิลิปปินส์ในการประชุมเต็มคณะ วาระที่ 2 ด้านเศรษฐกิจและการค้า ว่าที่ร้อยตรีสมชาติ เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนางสาววิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมการประชุมเต็มคณะวาระที่ 2 ด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยผู้แทนฯ ทั้ง 2 คน ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมซึ่งมีประเทศสมาชิก APPF จำนวน 19 ประเทศเข้าร่วมประชุมในวาระดังกล่าว โดยว่าที่ร้อยตรีสมชาติ เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถ้อยแถลงภายใต้หัวข้อ การทบทวนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น (Rethinking Critical Infrastructure) โดยได้กล่าวถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างและเศรษฐกิจทั่วโลก และแสดงให้เห็นถึงความเปราะบางทางเศรษฐกิจแม้แต่ประเทศที่มีโครงสร้างที่ดีก็ตาม สำหรับประเทศไทยนั้น ด้วยตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ประเทศไทยจึงเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการค้าและคมนาคม รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการลงทุนและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานมาโดยตลอด แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำให้การดำเนินการดังกล่าวของไทยหยุดชะงัก แต่ในภาพรวมแล้วยังคงเป็นไปในทิศทางบวก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภูมิรัฐศาสตร์ จึงได้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานยังมีความท้าทายหลายประการที่น่ากังวล เช่น ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ และการเติบโตอย่างไม่เท่าเทียม ดังนั้นประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงกฎและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการขนส่ง พลังงาน สาธารณูปโภค และด้านดิจิทัลให้ทันต่อเหตุการณ์ มีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และสนับสนุนให้สมาชิก APPF ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ระหว่างกันเป็นกุญแจสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับการพัฒนาประเทศ และสามารถใช้โอกาสนี้ในการส่งเสริมโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ทั้งนี้ โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลควรได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณจำนวนมากและมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการคลังของประเทศ
นางสาววิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ การพัฒนาทุนมนุษย์และการเติบโตอย่างครอบคลุม (Human Capital Development and Inclusive Growth) โดยได้กล่าวถึงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประชากรทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ต่าง ๆ เศรษฐกิจส่วนใหญ่ทั่วโลกได้รับผลกระทบและทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ล่าช้าออกไป วิกฤติการณ์เหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ การเข้าถึงบริการสุขภาพ และการศึกษา และส่งผลให้เกิดความยากจนมากขึ้นซึ่งทำให้ประชาชนยากที่จะหลุดพ้นจากกับดักความยากจน การลงทุนโดยเฉพาะด้านทุนมนุษย์เป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับความไม่แน่นอนที่ดังกล่าว โดยควรพัฒนาคนให้มีความรู้และความสามารถซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและภูมิภาค สำหรับประเทศไทยเองนั้น โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ยังคงจัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงมากต่อเนื่องเป็นปีที่สาม อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ประเทศไทยมีความยากจนเพิ่มขึ้นและทำให้เห็นปัญหาด้านโครงสร้างในสังคมไทย และยังส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางสังคมและสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ดังนั้นการพัฒนาทุนมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุด ได้กำหนดให้การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นหนึ่งในบริบทสำคัญของการพัฒนาประเทศ ประชาชนควรเข้าถึงการศึกษา การเงิน และสวัสดิการทางสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งสามารถสำเร็จได้โดยส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาทักษะอาชีพที่มีคุณภาพแก่เด็กและเยาวชนจากครอบครัวยากจน พร้อมทั้งพัฒนาหลักประกันและความคุ้มครองทางสังคมที่มีการบูรณาการอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงในชีวิตให้ทุกคนได้รับความคุ้มครองทางสังคมอย่างเหมาะสมเพียงพอ และสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ รัฐสภาไทยยังได้ผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงาน การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานแก่ประชาชนทุกระดับ เพื่อส่งเสริมผลิตภาพทางเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ ทั้งนี้ รัฐสภาทุกประเทศไม่เฉพาะประเทศไทยต้องรับประกันว่างบประมาณด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องทั่วถึงและเหมาะสม
เครดิต : ข่าว กลุ่มงานกิจการพิเศษ สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|