กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์


เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติฟิลิปปินส์ ในการประชุมเต็มคณะ วาระที่ 1 ด้านการเมืองและความมั่นคง ว่าที่ร้อยตรีสมชาติ  เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนางสาววิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมการประชุมเต็มคณะวาระที่ 1 ด้านการเมืองและความมั่นคง โดยผู้แทนฯ ทั้ง 2 คน ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม ซึ่งมีประเทศสมาชิก APPF จำนวน 19 ประเทศเข้าร่วมประชุมในวาระดังกล่าว โดยว่าที่ร้อยตรีสมชาติ  เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถ้อยแถลงภายใต้หัวข้อ “การเสริมสร้างประสิทธิภาพของรัฐสภาเพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพ” (Strengthening the Capacity of Parliaments to Promote Peace and Stability) โดยได้กล่าวถึงความสำคัญของการทูตแบบรัฐสภาในการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีความหลากหลายและมีพลวัตร รัฐสภาในฐานะเสาหลักของประชาธิปไตย มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบรรลุสันติภาพและการพัฒนาทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ สำหรับการต่างประเทศของไทย รัฐสภาไทยมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันผ่านกลไกรัฐสภา เช่น การมีบทบาทสำคัญในการให้ความเห็นชอบต่อหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ และรัฐสภาไทยมีความพยายามในการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง เช่น  การปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม(International Convent on Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR) รวมถึงการมีส่วนร่วมในการทูตรัฐสภาทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับสันติภาพ ความมั่นคง และสิทธิมนุษยชน โดยตระหนักถึงการพึ่งพาอาศัยกันขององค์ประกอบดังกล่าว เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมืองและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย โดยมุ่งเน้นที่ความเสมอภาคและความยุติธรรมสำหรับกลุ่มเปราะบาง ความพยายามในการปรับแก้ไขกฎหมายและเพิ่มความโปร่งใสของรัฐบาล เพื่อให้มั่นใจว่ามีการใช้หลักนิติธรรมอย่างยุติธรรมและเสมอภาค นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีปณิธานในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ Human Rights Council วาระปี 2568-2570 (ค.ศ. 2025-2027) ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนระดับโลกของไทยและความพร้อมในการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันผ่านการสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งเพื่อสันติภาพและความยั่งยืนต่อไป

นางสาววิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ “การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ“ (Combatting Transnational Crimes) โดยได้กล่าวถึงบทบาทของประเทศไทยในการจัดการกับอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเป็นการคุกคามความมั่นคงระดับชาติ ประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ มีภาคการท่องเที่ยวที่เจริญรุ่งเรืองจึงมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามดังกล่าว ดังนั้นประเทศไทยจึงได้มีมาตรการและดำเนินการเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การควบคุมการเข้าเมืองอย่างเข้มงวด การเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านข่าวกรอง การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้างความตระหนักรู้ของชุมชน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศให้มีความเข้มแข็ง โดยรัฐสภามีบทบาทสำคัญในการตรากฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงและการจัดสรรทรัพยากรเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย 

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้กระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผ่านความร่วมมือด้านความมั่นคงในระดับทวิภาคีและพหุภาคีกับประเทศและองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงมีส่วนร่วมในกรอบขององค์การสหประชาชาติ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไทยในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินการที่เป็นเอกภาพเพื่อสันติภาพและความมั่นคงระดับโลก 

เครดิต : ข่าว กลุ่มงานกิจการพิเศษ สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th