กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ ครั้งที่ 2 ของกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิกในสหภาพรัฐสภา

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 30 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น. สมาชิกรัฐสภา ประกอบด้วย นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา และน.ส.สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการสัมนนาออนไลน์ ครั้งที่ 2 ของกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิกในสหภาพรัฐสภา ประจำปี 2566 (Second Asia-Pacific Group Webinar Series 2023) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในการนี้ รัฐสภาออสเตรเลียในฐานะประธานกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิกในสหภาพรัฐสภาเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนา โดยมี Mr. Milton Dick ประธานสภาผู้แทนราษฎรเครือรัฐออสเตรเลียทำหน้าที่ประธานการประชุมและดำเนินการสัมมนา ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าวมีสมาชิกรัฐสภา และเจ้าหน้าที่รัฐสภาจากประเทศสมาชิกกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิกกว่า 45 คนเข้าร่วม


การสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 เป็นการรับฟังวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานสหภาพรัฐสภา คนที่ 31 จาก 3 ประเทศ ได้แก่ 1) Ms. Catherine Gotani Hara จากมาลาวี 2) Ms. Adji Diarra Mergane Kanouté จากเซเนกัล และ 3) Ms. Marwa Hagi จากโซมาเลีย ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมิได้รับฟังวิสัยทัศน์จากผู้สมัครของแทนซาเนีย ได้แก่ Dr. Tulia Ackson เนื่องด้วยอยู่ระหว่างการปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ จากนั้น ผู้สมัครทั้งสามยังได้ตอบข้อซักถามของผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยเฉพาะในประเด็นการส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของสตรีในทางการเมืองและนโยบายในการปกป้องคุ้มครองสตรีในแวดวงการเมืองด้วย


ต่อมา ในเวลา 14.00 น. การสัมมนาได้เข้าสู่ช่วงที่ 2  ในหัวข้อ “การเป็นผู้นำและการมีส่วนร่วมของสตรีในรัฐสภาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Women’s leadership and engagement with parliament in the Asia-Pacific Region)  ในการดังกล่าว นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะรองประธานสหภาพรัฐสภา และกรรมการบริหาร IPU และกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี (โดยตำแหน่ง) ได้รับเชิญจากเจ้าภาพผู้จัดการสัมมนาให้ทำหน้าที่ผู้นำเสนอปาฐกถาพิเศษ (Keynote address) ในหัวข้อดังกล่าว หลังจากการนำเสนอของ Ms. Cynthia Lopez Castro สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเม็กซิโก ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี สรุปสาระสำคัญได้ว่า ตามข้อมูลสถิติจาก UN Women ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับสัดส่วนสตรีที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในภาคธุรกิจไว้ในลำดับสูงทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค อีกทั้งยังมีการผลักดันเพื่อเพิ่มจำนวนผู้หญิงให้มากขึ้นในภาคการเมืองโดยรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองที่กำหนดให้พรรคการเมืองคำนึงถึงความเท่าเทียมระหว่างชายหญิงในการจัดทำบัญชีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้ผู้หญิงได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มมากขึ้นในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ถึงร้อยละ 18.8 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากการเลือกตั้งครั้งก่อนในปี 2562 ทำให้ไทยขยับเข้าไปใกล้ค่าเฉลี่ยของโลกว่าด้วยผู้หญิงในรัฐสภาที่ร้อยละ 26 นอกจากนี้ ยังแสดงความหวังว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีจะได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญ สภาผู้แทนราษฎรในจำนวนที่มากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย


รัฐสภาไทยยังส่งเสริมนโยบายความเสมอภาคระหว่างหญิงชายเพื่อให้เป็นรัฐสภาที่คำนึงถึงมิติทางเพศ โดยการไม่ยอมรับพฤติกรรมการเหยียดเพศและการล่วงละเมิดทางเพศในทุกรูปแบบ โดยมีกลไกของประมวลจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาและกรรมาธิการ รวมถึงประมวลจริยธรรมข้าราชการรัฐสภากำกับไว้ อย่างเคร่งครัด ภายใต้การดูแลของเลขาธิการวุฒิสภาและเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบันที่เป็นสุภาพสตรีทั้งสองคน นอกจากนี้ นับตั้งแต่ปี 2539 ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย ซึ่งมีทั้งสมาชิกสตรีจากทั้งสองสภา และจากหลากหลายพรรคการเมืองได้ดำเนินกิจกรรมอย่างแข็งขันและต่อเนื่องในการเสริมพลังของสมาชิกรัฐสภาสตรีร่วมกับองค์กรพันธมิตรจากทุกภาคส่วน อาทิ นำเครื่องยังชีพที่จำเป็นไปแจกจ่ายเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ของประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19


นอกจากนี้ นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ยังได้กล่าวต่อไปถึงระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยที่แบ่งออกเป็นแบบบัญชีรายชื่อและแบบเขตเลือกตั้ง โดยที่การเลือกตั้งในแบบแบ่งเขต ใช้ระบบผู้ได้คะแนนสูงสุดชนะการเลือกตั้ง ดังเช่นตัวอย่างที่เกิดขึ้นในเขตเลือกตั้งของกรุงเทพมหานครที่แพ้ชนะกันเพียงไม่กี่คะแนน ปัจจัยในเรื่องการรักษาสัญญาและนโยบายประชานิยมส่งผลเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง อย่างไรก็ดี ไม่อาจปฏิเสธได้ในเรื่องของการใช้เงินทุนสนับสนุนในการหาเสียงเลือกตั้งและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเป็นปัจจัยหลักประการหนึ่งที่ทำให้ชนะการเลือกตั้ง การหาเสียงเลือกตั้งโดยใช้เทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) ก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกันในการสื่อสารโดยตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนประเด็นด้านกฎหมายของกฎหมายเลือกตั้งโดยหากผู้สมัครรับการเลือกตั้งไม่ศึกษาและดำเนินการหรือหาเสียงที่ขัดกับกฎหมายเลือกตั้งก็จะทำให้การสมัครเป็นโมฆะ ปัจจัยสุดท้ายที่จะทำให้ผู้สมัครชนะการเลือกตั้งคือ เรื่องของจังหวะเวลาที่เหมาะสมที่มาพร้อมกับโชค การสื่อสารหรือนโยบายที่เหมาะสมที่มาในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล อย่างไรก็ดี ไทยมีความหวังเป็นอย่างยิ่งที่กลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิกจะสามารถสรรหาสมาชิกรัฐสภาสตรีที่มีความรู้ความสามารถเพื่อเป็นตัวแทนของภูมิภาคทำงานร่วมกับสมาชิกรัฐสภาบุรุษในคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาในตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของหุ้นส่วนระหว่างหญิง-ชายและเพื่อประโยชน์โดยรวมของกลุ่มภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก


เครดิต : ภาพและข่าวโดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th