|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
ประธานสหภาพรัฐสภาเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐสภาไทย
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 15 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
เมื่อวันพุธที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 15.30 นาฬิกา ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายดูอาร์เต ปาเชโก (Hon. Mr. Duarte Pacheco) ประธานสหภาพรัฐสภา (President of the Inter-Parliamentary Union) และ น.ส.ซินเธีย โลเปซ คาสโตร ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี (President of the Bureau of Women Parliamentarians) ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐสภาไทย ระหว่างวันที่ 12 14 ก.ย. 66 โดยมีนางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา และรองประธานสหภาพรัฐสภา และน.ส.สตีจิตร ไตรพิบูลย์สุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมในวาระดังกล่าวด้วย
ประธานสหภาพรัฐสภา กล่าวแสดงความยินดีกับนายกรัฐมนตรีในโอกาสที่ได้รับตำแหน่งใหม่ และกล่าวถึงความสำคัญของสหภาพรัฐสภาในฐานะองค์กรด้านนิติบัญญัติที่เก่าแก่มีอายุมากกว่า 130 ปี รัฐสภาสมาชิกในปัจจุบันมีจำนวน 179 ประเทศ และได้รับการยอมรับในฐานะ ผู้สังเกตการณ์ของสหประชาชาติ ในส่วนของประเทศไทยมีการดำเนินการอย่างแข็งขันโดยมีนางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา ดำรงตำแหน่งรองประธานสหภาพรัฐสภา (IPU Vice-President, Asia-Pacific Group) นอกจากนี้ ประธานสหภาพรัฐสภาได้อธิบายถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรในการ (1) ส่งเสริมการเจรจาหารือในประเด็นระดับโลกทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และ (2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการแก้ไขปัญหาระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันระดับโลก ประธานสหภาพรัฐสภา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนำร่องในการจัดตั้งสำนักงานสหภาพรัฐสภาระดับภูมิภาคในประเทศอุรุกวัย และจะมีการทบทวนการดำเนินงานในอีกสองปี ซึ่งประเทศไทยอาจพิจารณาจัดตั้งสำนักงานฯ ดังกล่าวในกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงพิจารณารับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในกรอบของสหภาพรัฐสภาในอนาคต
ด้านนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงตำแหน่งของตนว่าเป็นงานที่มีภาระยิ่งใหญ่ โดยมีทีมงานที่ให้การสนับสนุนในทุกด้าน และเห็นด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเป้าหมายร่วมกันระดับโลก ซึ่งยังต้องดำเนินการในระยะยาว สำหรับระดับภูมิภาค ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของชุมชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในการดูแลสุขภาพองค์รวม นายกรัฐมนตรีสนับสนุนแนวความคิดของประธานสหภาพรัฐสภาข้างต้น และแสดงความเห็นว่าในภูมิภาคมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซึ่งประเทศไทยจะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความท้าทายต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ ในช่วงท้าย ได้มีการแลกเปลี่ยนของที่ระลึกระหว่างนายกรัฐมนตรีและประธานสหภาพรัฐสภา
เครดิตข่าว : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|