|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุม AIPA Caucus ครั้งที่ 14 (14th AIPA Caucus Meeting) ณ เกาะฟูก๊วก สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 17 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุม AIPA Caucus ครั้งที่ 14 (14th AIPA Caucus Meeting) ณ เกาะฟูก๊วก สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ในช่วงเช้าของวันที่ 11 ก.ค. 66 เป็นการประชุมเต็มคณะ ช่วงที่ 3 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1. การอภิปรายและรับรองรายงานการประชุม AIPA Caucus ครั้งที่ 14 2. การเปิดตัวคู่มือ การส่งเสริมการนำแนวปฏิบัติของอาเซียนว่าด้วยการลงทุนอย่างรับผิดชอบด้านอาหาร เกษตรกรรม และป่าไม้ : คู่มือปฏิบัติสำหรับสมาชิกรัฐสภาอาเซียน (Promoting the Adoption of ASEAN Guidelines on Responsible Investment in Food, Agriculture and Forestry: A Practical handbook for ASEAN Parliamentarians) โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) และสำนักงานเลขาธิการ AIPA และ 3. พิธีปิดการประชุม AIPA Caucus ครั้งที่ 14
ทั้งนี้ ระหว่างการเปิดตัวคู่มือฯ ได้มีการหารืออย่างกว้างขวาง โดยนายอนุศักดิ์ คงมาลัย สมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนรัฐสภาไทยได้เสนอความคิดเห็น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ ประเทศไทยมีความกังวลเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมในประเด็นลึกซึ้งกว่าด้านเศรษฐกิจ แต่ยังรวมไปถึงด้านสุขอนามัย เนื่องจากมีกรณีที่เห็นอย่างชัดเจนจำนวนมากที่บุคคลในภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ เนื่องจากการใช้สารเคมี เพื่อการเพิ่มจำนวนผลผลิต รวมทั้งการสนับสนุนแนวความคิดในการพึ่งพิงการใช้สารเคมีเป็นหลักจากกลุ่มภาคเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียและยังมีอิทธิพลอย่างมากในภาคเกษตรกรรมในประเทศ จึงเห็นควรให้มีการสนับสนุนแนวทางการเกษตรอินทรีย์ ทั้งในภาคการวิจัยและการลงทุน โดยภาครัฐจะต้องให้การสนับสนุน เพื่อให้ภาคการเกษตรมีความเข้มแข็ง สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและกระทบต่อสุขอนามัยน้อยที่สุด ทั้งนี้ Mr. Remi Nono Womdim ผู้แทน FAO ได้ กล่าวถึงการที่ฝ่ายนิติบัญญัติของแต่ละประเทศจะช่วยกันผลักดันให้ผู้บริหารประเทศเห็นความสำคัญในการกำหนดนโนบายให้ชัดเจน จะได้กำหนดหลักปฏิบัติที่รองรับการจัดการป้องกันสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน และยินดีสนับสนุนภารกิจดังกล่าว สำนักงานเลขานุการอาเซียนจะได้ประสานงานกับทางฝ่ายบริหารต่อไป
เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสมัชชารัฐสภาอาเซียนสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|