กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์


คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุม AIPA Caucus ครั้งที่ 14 (14th AIPA Caucus Meeting)

ในช่วงบ่ายของวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 เป็นวาระการประชุมเต็มคณะ ช่วงที่ 2 การนำเสนอรายงานประเทศในหัวข้อ “การส่งเสริมนวัตกรรม การถ่ายทอด การประยุกต์ใช้และการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Promoting Innovation, Transfer, Application and Development of Science and Technology for Sustainable Growth and Development) ลำดับการนำเสนอรายงานดังกล่าวจะเรียงตามลำดับชื่อประเทศตามตัวอักษรภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน ในส่วนของไทยนั้นมีนายอนุศักดิ์ คงมาลัย สมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนรัฐสภาไทยเป็นผู้นำเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ประเด็นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ไทยผลักดันในกรอบอาเซียน ประกอบด้วย
1. The Utilization of High Performance Computing (HPC): ไทยมีบทบาทในมิติของการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรของอาเซียนในการเพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาศักยภาพของบุคลกรในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ในการสร้างนวัตกรรมใหม่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการแก้ปัญหาความท้าทายในอุตสาหกรรมของอาเซียน และการก้าวข้ามอุปสรรคทางด้านแรงงานโดยการสร้างโอกาสให้กับบุคลากรของอาเซียนในการพัฒนาทักษะ และสร้างงานที่มีผลตอบแทนสูงในระดับภูมิภาค 
2. The establishment of ASEAN Network on Bio-, Circular and Green Economy (ASEAN BCG Network): ไทยนำเสนอ BCG Model เป็นทางเลือกใหม่ของอาเซียนภายใต้กรอบการฟื้นฟูระดับภูมิภาคภายหลังโควิด-19 โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้เสนอขอจัดตั้งเครือข่ายอาเซียนว่าด้วย BCG Model ให้เป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ในด้านการวิจัย พัฒนานวัตกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาศักยภาพ
3. The Development of an ASEAN Regional Research Infrastructure Strategy (RRI): ไทยเสนอข้อริเริ่มใหม่ว่าด้วยยุทธศาสตร์การแบ่งปันโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัย ผ่านกลไก ASEAN Centre/Networks ที่มีอยู่แล้ว เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการวิจัยในการรับมือกับความท้าทายโลก การเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน โดยจะส่งเสริมการดำเนินความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก การแบ่งปันองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ตลอดจนการแสวงหาความร่วมมือกับหุ้นส่วนอื่น 
4. ASEAN Talent Mobility (ATM) เป็นข้อริเริ่มของไทยในปี 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาเซียน ในการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ผ่านรูปแบบการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยได้มีการหารือเชิงนโยบายและกลไกการส่งเสริมการดำเนินงานของ ATM ในอาเซียน ทั้งนี้ที่ประชุมหารือของ Board of Advisors to COSTI (BAC) ยังได้เสนอให้จัดตั้ง Expert Group on Talent Mobility เพื่อพัฒนา Platform ในการขับเคลื่อน ATM อย่างเป็นรูปธรรม โดยวิเคราะห์ความต้องการและความสนใจของอาเซียนในการเคลื่อนย้ายบุคลากร และ/หรือ กิจกรรม/โครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้าน วทน. ของอาเซียน ไทยยังพยายามผลักดันการดำเนินความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ผ่านกลไกรูปแบบต่างๆ เช่น Enhanced Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument (E-READI) ร่วมกับสหภาพยุโรป และ Japan-ASEAN STI Platform (JASTIP) ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งแบบหุ้นส่วนเชิงโยบาย เพื่อขับเคลื่อน ATM ผ่านกิจกรรมการพัฒนาทักษะ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนการร่วมวิจัยและพัฒนาในด้านที่นำไปสู่การพัฒนาระดับภูมิภาคแบบองค์รวมและยั่งยืน 

เครดิต : ภาพและข่าว โดยกลุ่มงานสมัชชารัฐสภาอาเซียน สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th