|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
คณะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อเนื่องจากการสัมมนาระหว่างภูมิภาคว่าด้วย SDGs ณ กรุงปักกิ่ง
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 13 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
คณะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อเนื่องจากการสัมมนาระหว่างภูมิภาคว่าด้วย SDGs ณ กรุงปักกิ่ง
ในระหว่างวันที่ 9-12 กรกฎาคม 2566 คณะผู้แทนรัฐสภาไทย ในการสัมมนาระหว่างภูมิภาคว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาครัฐสภาและการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ ครั้งที่ 5 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วยนางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทยฯ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะผู้แทนรัฐสภาไทยฯ เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการสัมมนาดังกล่าว ที่เสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2566 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ มณฑลยูนนานครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีในการศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นของมณฑลยูนนาน รวมถึงแนวทางปฏิบัติในระดับมณฑลเพื่อบริหารจัดการชนพื้นเมืองที่อาศัยรวมกันกว่า 26 เผ่าพันธุ์ ให้ดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย (1) การเยี่ยมชมหมู่บ้านชาติพันธุ์มณฑลยูนนาน (Yunnan Nationalities Village) พื้นที่กว่า 89 เฮคเตอร์ ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมและสังคมของมนุษย์ในมณฑลยูนนาน จัดแสดงเป็นบ้านชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยภายในมีชาวพื้นเมืองขับร้องและบรรเลงเพลงพื้นเมืองพร้อมทั้งเต้นประกอบ รวมถึงการสาธิตงานศิลปหัตถกรรมของชาติพันธุ์นั้น ๆ ประกอบการเยี่ยมชม (2) การเข้าศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำเป่าเฟ็ง (Baofeng Wetland Park) ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ของมณฑลยูนนาน ด้วยสวนขนาดใหญ่แบบโปร่งโล่งที่เป็นแหล่งรวมของสัตว์บกและสัตว์น้ำ รวมถึงพรรณไม้นานาชนิดในพื้นที่ซึ่งมีทะเลสาบขนาดใหญ่เป็นองค์ประกอบสำคัญ (3) การเยี่ยมชมเมืองโบราณกวนตู้ (Guandu Ancient Town) ซึ่งจัดแสดงศิลปหัตถกรรม โบราณวัตถุ และสิ่งของที่ทรงคุณค่าของมณฑลยูนนาน รวมถึงการแสดงละครโอเปราพื้นเมืองของมณฑลยูนนาน ที่โด่งดังและมีมาแต่ดั้งเดิมกว่า 200 ปีที่ผ่านมา (4) การเข้าศึกษาหมู่บ้านชนบทเฮต้าวหยวน (Hetaoyuan) ของชนเผ่าหยี (Yi) ห่างจากตัวเมืองคุนหมิงประมาณ 90 กิโลเมตร พร้อมรับชมและมีส่วนร่วมในการระบำต้อนรับพื้นเมือง นอกจากนี้ หมู่บ้านยังจัดแสดงโบราณวัตถุ ณ พิพิธภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน โดยเฉพาะโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชนเผ่าหยี (5) การเยี่ยมชมโรงงานปลูกดอกกุหลาบขนาดใหญ่ของกลุ่มหยุนเทียนหัว (Yuntianhua Group) ซึ่งปลูกและส่งออกดอกกุหลาบหลายร้อยสายพันธุ์ โดยรับฟังการบรรยายสรุป ตลอดจนศึกษาวิธีการปลูก เพาะชำดอกกุหลาบภายในเรือนกระจก จำแนกดอกกุหลาบที่สวยงามด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และบรรจุดอกกุหลาบพร้อมส่งมอบให้แก่ลูกค้า (6) การเยี่ยมชมหมู่บ้านเซี่ยวหยู (Xiaoyu) จำนวนราว 50 ครัวเรือน พัฒนาจากพื้นที่รื้อถอนโดยรัฐบาลมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นตัวอย่างของการสร้างความยั่งยืนด้วยการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยหมู่บ้านดังกล่าวมีชาวบ้านอยู่อาศัยจริงและประกอบอาชีพค้าขายไปพร้อมกัน หมู่บ้านดังกล่าวยังเป็นสถานที่จัดงานแสดงกลางคืน แคมป์ปิ้ง และสถานที่ท่องเที่ยวเบ็ดเสร็จในที่เดียว
นอกจากนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น ณ มณฑลยูนนาน) คณะผู้นำระดับสูงของสภาประชาชนแห่งมณฑลยูนนาน นำโดย Ms. Wang Shufen รองประธานคณะกรรมาธิการสามัญ สภาประชาชนแห่งมณฑลยูนนาน (Vice-Chairperson of the Standing Committee of the Yunnan Provincial People's Congress) ได้ประชุมร่วมกับคณะผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยมณฑลยูนนานมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับชาติพันธุ์ดั้งเดิม และการรักษาอัตลักษณ์ดังกล่าว รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านการออกกฎหมายที่จำเป็นในระดับมณฑล ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทยฯ ได้สะท้อนให้ที่ประชุมทราบถึงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างไทย-จีนที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระปรีชาสามารถในภาษาจีนของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และความสนพระทัยส่วนพระองค์ที่มีต่อจีน จากการที่ทรงเสด็จฯ เยือนจีนมาแล้วถึง 50 ครั้ง รวมถึงการที่ชนกลุ่มน้อยของทั้งไทยและจีนต่างมีอัตลักษณ์ร่วมกันในด้านภาษาและวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยหยิบยกแนวคิดในรัชกาลที่ 9 ซึ่งสร้างองค์ความรู้ให้แก่ชนกลุ่มน้อยจากเดิมที่ปลูกฝิ่นเป็นหลักได้หันมาปลูกพืช ผัก และผลไม้ที่มีมูลค่าสูงทดแทน ในช่วงท้าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัยฯ ได้กล่าวย้ำว่าการแลกเปลี่ยนกันในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการนำไปปรับใช้ในภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อความยั่งยืนของชนกลุ่มน้อยทั้งหลายภายในประเทศ
อนึ่ง ในวันเดียวกัน เวลา 19.45 นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น ณ มณฑลยูนนาน) สำนักข่าวกว่างหมิง เดลี (Guangming Daily) ได้ขอสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทยฯ เกี่ยวกับประสบการณ์เพื่อจัดการกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และความช่วยเหลือที่จีนในฐานะมิตรประเทศได้หยิบยื่นให้ในช่วงเวลายากลำบากดังกล่าว ซึ่งจีนนับเป็นชาติแรกที่จัดหาวัคซีน COVID-19 ให้แก่ประชาชนชาวไทย ทั้งการซื้อ-ขายและการบริจาควัคซีนดังกล่าว โดยเฉพาะในช่วงการระบาดระลอกที่หนึ่งและสอง นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงความสำเร็จที่ลึกซึ้งของจีนตามความร่วมมือสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative) ซึ่งนับว่าเป็นแนวคิดที่ดีและสะท้อนความมุ่งมั่นของจีนเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในการขจัดความยากจน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของจีน
เครดิต : ภาพและข่าว โดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|