กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
คณะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการสัมมนาระหว่างภูมิภาคว่าด้วย SDGs ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน"

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 9 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

เมื่อวันที่ 6 - 8 ก.ค. 66 คณะผู้แทนรัฐสภาไทย นำโดย ผศ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วยนางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการสัมมนาระหว่างภูมิภาคว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาครัฐสภาและการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ ครั้งที่ 5 (The Fifth Interregional Seminar on Parliamentary Capacity-building and the Further Implementation of the Sustainable Development Goals) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ท่ามกลางคณะผู้แทนรัฐสภาจากประเทศต่าง ๆ รวม 8 ประเทศ ที่ได้รับเชิญจากสภาประชาชนแห่งชาติจีน ในฐานะรัฐสภาประเทศเจ้าภาพ และสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union: IPU)

การสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบของการประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศ เป็นการนำเสนอภาพรวมความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่จีนดำเนินการในมิติต่าง ๆ โดยผู้แทนสภาประชาชนแห่งชาติจีน รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีน อีกทั้งเป็นเวทีสำหรับสมาชิกรัฐสภา ในฐานะผู้แทนของปวงชน ในการแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าของ SDGs จากแต่ละประเทศ ตลอดจนอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ในเป้าหมายต่าง ๆ ที่ยังประสบกับความท้าทาย โดยเฉพาะเมื่อผ่านช่วงครึ่งแรกของการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs ภายในปี 2573

ในวันที่ 6 ก.ค. 66 คณะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมพิธีเปิด ซึ่งเป็นการรับฟังบุคคลสำคัญของประเทศเจ้าภาพ คือ Mr. Shohrat Zakir รองประธานสภาประชาชนแห่งชาติจีน Mr. Fu Ziying รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาประชาชนแห่งชาติจีน Mr. Li Fei รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน และ Mr. Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภา

จากนั้นเป็นการสัมมนา ตลอดระยะเวลา 3 วัน แบ่งเป็น 4 หัวข้อ โดยในแต่ละหัวข้อ เป็นการบรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์ของจีนในการขับเคลื่อนการพัฒนา ดังนี้ (1) ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน การฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเฉพาะหลังโควิด-19 ผ่านการตราหรือปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคหรือล้าสมัย ไม่ทันต่อสถานการณ์ ให้สามารถปลดเปลื้องสภาพปัญหาทางการค้าต่าง ๆ ของจีน (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาของจีนเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาสำหรับทุกคน ผ่านความร่วมมือสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative) ซึ่งครอบคลุม 5 ทวีปของโลก หลักการสร้างความทันสมัยของจีน (Chinese Modernization) ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อประชาชนจีนกว่า 1.4 พันล้านคนไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทางวัตถุและวัฒนธรรมอย่างสันติ ผสมกลมกลืนกันระหว่างการพัฒนาเพื่อมนุษยชาติกับธรรมชาติ (3) การเสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตยของจีน ซึ่งเป็นการหยิบยกตัวอย่างของระบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งกระบวนการ (Whole-process People’s Democracy) และกรณีศึกษาของจีนในระดับรากหญ้า ณ เมืองจ้าวหยาง (Chaoyang) ในกรุงปักกิ่ง ตลอดจนวิธีการในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนจีนในระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต และการพิจารณากฎหมายใหม่ภายในเขตดังกล่าว ซึ่งมีระบบการแสดงความคิดเห็นออนไลน์และออฟไลน์ และ (4) รัฐสภากับการส่งเสริมการพัฒนาสีเขียว ซึ่งกล่าวถึงการออกกฎหมายและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวคิดการพัฒนาสีเขียวและความสำเร็จในการสร้างอารยธรรมเกี่ยวกับระบบนิเวศ รวมถึงกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จของจีน สะท้อนว่าจีนได้ดำเนินการในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเพื่ออนุชนอย่างแท้จริง

ผศ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทยฯ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสัมมนาใน 4 ประเด็นข้างต้น คือ (1) การสอบถามฝ่ายจีนถึงการบริหารจัดการนโยบายรวมถึงการพิจารณากฎหมายของจีนเป็นการเฉพาะต่อความท้าทาย เช่น การแพร่ขยายของคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ซึ่งจีนได้เล็งเห็นถึงความเสี่ยงนี้จึงมีการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ร่างกฎหมายความมั่นคงทางการเงิน (Financial Stability Law) ขึ้น และสภาประชาชนแห่งชาติจะได้พิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวในช่วงเดือนธันวาคม 2566 (2) การอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิด Thailand 4.0 ของไทย รวมถึงการสะท้อนหลักคิดที่เป็นประโยชน์ของจีนเกี่ยวกับการจัดสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ได้รับองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในภารกิจของตน จึงควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมเช่นนี้ต่อไป (3) การสอบถามฝ่ายจีนถึงระบบและหลักการในการคัดเลือกรายชื่อผู้สมัครเป็นผู้แทนประชาชน (Deputy) โดยทั่วไป และ (4) การนำเสนอความก้าวหน้าของการร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมโดยหยิบยกกรณีของฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาระดับระหว่างประเทศและไม่ได้จำกัดเฉพาะพื้นที่ ดังนั้นสมควรอย่างยิ่งที่ประเทศที่เกี่ยวข้องจะร่วมมือกันเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว

อนึ่ง คณะผู้แทนรัฐสภาไทย พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งหมด มีกำหนดเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 9 - 15 ก.ค. 66 ณ มณฑลยูนนานและมณฑลเจียงซู ซึ่งจะเป็นการนำเสนออย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการทั้งหมดของจีนเพื่อบรรลุ SDGs รวมถึงการสะท้อนผลลัพธ์ตามนโยบายต่าง ๆ ของจีนที่ได้นำเสนอตลอดห้วง 3 วันของการสัมมนา

เครดิต : ภาพและข่าวโดยสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th