|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมการบรรยายสรุปออนไลน์ว่าด้วยรัฐสภาและสหประชาชาติของสหภาพรัฐสภา
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมการบรรยายสรุปออนไลน์ว่าด้วยรัฐสภาและสหประชาชาติของสหภาพรัฐสภา
เมื่อวันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 20.00 - 21.00 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการบรรยายสรุปออนไลน์สำหรับสมาชิกรัฐสภาว่าด้วยระบบงานของสหประชาชาติจัดโดยสหภาพรัฐสภา (Briefing for MPs on UN processes) ในหัวข้อ A more networked UN for stronger multilateralism: how would it work? ซึ่งเป็นการอธิบายแนวคิดของ เครือข่ายสหประชาชาติ (networked UN) ที่ขยายตัวกว้างขวางขึ้น และการมีส่วนร่วมในกระบวนการของสหประชาชาติของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ที่หลากหลาย เช่น ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และรัฐบาลระดับภูมิภาค และท้องถิ่น โดยมี Ms. Anne Marie Slaughter กรรมการที่ปรึกษาระดับสูงว่าด้วยระบบพหุภาคีที่มีประสิทธิผล H. E. Ambassador Munir Akram เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรปากีสถานประจำสหประชาชาติ Mr. Guy Ryder รองเลขาธิการสหประชาชาติด้านนโยบาย เป็นผู้ร่วมอภิปราย และ Hon. Patricia Torsney หัวหน้าสำนักงานผู้สังเกตการณ์ถาวรของสหภาพรัฐสภาประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เป็นผู้ดำเนินรายการ
การบรรยายสรุปครั้งนี้มีคำถามหลักในการอภิปรายจำนวน 3 คำถาม ดังนี้ (1) ข้อเสนอใหม่สำหรับการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ในกระบวนการของสหประชาชาติมีความแตกต่างอย่างมากจากกระบวนการปรึกษาหารือที่มีอยู่หรือไม่ (2) บทบาทของรัฐสภาในสหประชาชาติแตกต่างจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นหรือไม่ และ (3) รัฐสภาจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบพหุภาคี และสหประชาชาติได้อย่างไรผู้นำอภิปราย (panelists) และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันอภิปรายกันอย่างกว้างขวางว่า ปัจจุบันนี้ประเด็นความท้าทายต่าง ๆ แตกต่างไปจากอดีตและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถรับมือจัดการประเด็นเหล่านี้ได้โดยลำพัง ระบบพหุภาคีที่เข้มแข็งขึ้นจึงมีส่วนจำเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Multi-stakeholders participation) ในการดำเนินการของสหประชาชาติต้องขึ้นอยู่กับบริบทที่เหมาะสม ทั้งนี้ สมาชิกรัฐสภามีบทบาทที่สำคัญและมีลักษณะเฉพาะเจาะจงในภาคนิติบัญญัติ ทั้งการออกกฎหมาย การจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการตรวจสอบรัฐบาล ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสื่อสารกับประชาชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเป็นผู้แทนประชาชนในการสะท้อนปัญหาต่อสหประชาชาติ
ในการนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ร่วมอภิปรายต่อที่ประชุมว่าการสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์มาก ระบบพหุภาคีนิยม (Multilateralism) เป็นรูปแบบการทำงานหลักของสหประชาชาติ ซึ่งปัจจุบันนี้การรับมือความท้าทายที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องมีการดำเนินการใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Multi-stakeholders participation) ซึ่งเห็นด้วยกับที่ประชุมว่าต้องขึ้นอยู่กับบริบทต่าง ๆ การมียุทธศาสตร์ที่หลากหลาย (Multi-strategies) และการดำเนินการหลายระดับ (Multi-level approaches) ทั้งระดับโลก ภูมิภาค ประเทศ ชุมชุน และประชาชน เพื่อให้บรรลุผลและบรรลุเป้าหมายความร่วมมือ เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
เครดิต : ภาพและข่าว โดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|