กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
ประธานวุฒิสภา ร่วมกล่าวอภิปรายในการประชุมของคณะผู้อภิปรายระดับสูง แทร็ค 1 ด้านหลักนิติธรรม หัวข้อ “การทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม : วิธีปฏิบัติที่ดีและสิ่งท้าทาย”

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 19 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

เมื่อวันอังคารที่ 13 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทย พร้อมด้วยผู้แทนรัฐสภาไทยประกอบด้วย พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง สมาชิกวุฒิสภา และนางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมภาครัฐสภาว่าด้วยการสานเสวนาระหว่างศาสนา (Parliamentary Conference on Interfaith Dialogue) ระหว่างวันที่ 13 – 15 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์การประชุม Palais des Congrès เมืองมาร์ราเกช ราชอาณาจักรโมร็อกโก โดยมีนางสาวเพ็ญแข อินทรสุวรรณ อุปทูตฯ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต เป็นที่ปรึกษาคณะผู้แทนรัฐสภาไทย

เวลา 14.00 - 16.00 นาฬิกา คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมของคณะผู้อภิปรายระดับสูง แทร็ค 1 (High-level panel: Track 1)  ด้านหลักนิติธรรม หัวข้อ “การทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม : วิธีปฏิบัติที่ดีและสิ่งท้าทาย” ในการนี้ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้ร่วมกล่าวอภิปรายต่อที่ประชุมว่า ประเทศไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม แม้ว่าจะมีประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธแต่สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดกว้างมีศาสนาและความเชื่อหลากหลายและประชาชนต่างศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติมาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติถึงความเสมอภาคและหลักนิติธรรมโดยให้หลักประกันถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนาและมีเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกทุกศาสนา สำหรับรัฐสภาไทยเคยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิมและนับตั้งแต่ปี2562 มีสมาชิกรัฐสภาที่นับถือศาสนาอื่นอยู่อีกเป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งนี้ รัฐสภาไทยเชื่อมั่นว่าสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งจะเป็นพลังสำคัญในการทลายกำแพงแห่งการแบ่งแยกและผนึกรวมทุกศาสนาเป็นหนึ่งเดียวผ่านความร่วมมือระหว่างศาสนา สมาชิกรัฐสภาสามารถเป็นต้นแบบในการยอมรับความแตกต่างและปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งสันติภาพและความปรองดองเพื่ออนาคตของมนุษยชาติต่อไป

เครดิต : ข่าวและภาพ โดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ  สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th