|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปในหัวข้อ บุคคลไร้รัฐ (Stateless) ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 17 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
เมื่อวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2566 เวลา 18.00 นาฬิกา (ตามเวลาประเทศไทย) นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี (Bureau of Women Parliamentarians) เข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปในหัวข้อ บุคคลไร้รัฐ (Stateless) ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกันระหว่างสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และสหภาพรัฐสภา เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาบุคคลไร้รัฐแก่สมาชิกของคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาเพื่อส่งเสริมการเคารพต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ โดยมีการเชิญผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรีเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปด้วย
การบรรยายสรุปในช่วงแรกเป็นการให้ความรู้เชิงเทคนิคเรื่องบุคคลไร้รัฐ โดย Ms. Monika Sandrik และ Ms. Anne Laakko เจ้าหน้าที่ของ UNHCR ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลไร้รัฐ อาทิ ความหมายและการได้มาซึ่งสัญชาติ ความหมายของบุคคลไร้รัฐ อนุสัญญาและความตกลงที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและบุคคลไร้รัฐ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาบุคคลไร้รัฐและผลกระทบที่เกิดขึ้น โดย UNHCR ได้ดำเนินโครงการรณรงค์ภายใต้ชื่อว่า The #IBelong Campaign เพื่อยุติปัญญาบุคคลไร้รัฐซึ่งเป็นการดำเนินการในระยะเวลา 10 ปี (2014-2024) นอกจากนี้ ยังได้ยกตัวอย่างประเทศที่ออกกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาบุคคลไร้รัฐ เช่น ฟิลิปปินส์ และไลบีเรีย และเห็นว่าปัญหาบุคคลไร้รัฐเป็นภารกิจที่ต้องดำเนินการร่วมกันทั่วโลก โดยรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภามีบทบาทสำคัญที่จะช่วยป้องกันและลดปัญหาบุคคลไร้รัฐได้
จากนั้น เป็นการแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลจากสมาชิกรัฐสภา อาทิ สมาชิกรัฐสภาจากอิรักได้กล่าวถึงประเด็นปัญหาในอิรักที่มีเด็กไร้รัฐเกิดในแคมป์ผู้อพยพ และความสำคัญของการออกกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สมาชิกรัฐสภาบาห์เรนได้กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาบุคคลไร้รัฐว่านอกจากสมาชิกรัฐสภาต้องออกกฎหมายเพื่อรองรับแล้ว ยังต้องควบคุมเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ต้องมีการป้องกันการคุกคามทางเพศในเด็กไร้รัฐ และจัดสรรงบประมาณที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังต้องจัดให้มีความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน ด้านสมาชิกรัฐสภาจากเปรู นำเสนอปัญหาการอพยพของชาวเวเนซุเอลาเข้ามาในประเทศเปรูเป็นจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงเนื่องจากมีอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น
ในการนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทยว่า ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐานของมนุษยธรรม โดยจัดหาที่อยู่และอาหารให้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศแล้ว นับว่าสถานการณ์ของประเทศไทยไม่ได้เลวร้าย และในฐานะที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรีมีความยินดีที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจและหวังว่าจะได้ร่วมมือทำงานในประเด็นดังกล่าวในโอกาสการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาครั้งต่อไป ณ กรุงลูอันดา สาธารณรัฐแองโกลา
เครดิตภาพและข่าว : โดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|