เมนูหลัก
วีดิทัศน์สำนักงานฯ
ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔
๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา
เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที
วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า
สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ
วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ศาลาแก้ว ด้านหน้าอาคารรัฐสภา ศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์สืบสานประเพณีวันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ไทย (ปีเถาะ) พุทธศักราช 2566 โดยมี พระครูสุภกิจจานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้าจุฬามณี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมกล่าวสัมโมทนียกถาและให้พรวันสงกรานต์ โอกาสนี้ คณะผู้บริหาร อดีตผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างของสานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมพิธีฯ
สันนิษฐานกันว่าประเพณีสงกรานต์ของไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี (Holi) หรือเทศกาลแห่งสีสันของอินเดีย ที่มีการสาดผงสี เชื่อกันว่าเป็นการปัดเป่าเชื้อโรคร้ายให้ออกจากร่างกายเรา ต่อมาได้แพร่ขยายไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ในแถบประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้ พื้นที่ต่าง ๆ ได้มีการปรับเปลี่ยนการฉลองไปตามความเหมาะสม โดยที่วันสงกรานต์ของไทยนั้นอาศัยการสาดหรือรดน้ำกันแทน ซึ่งเชื่อว่าเป็นการปรับให้เข้ากับสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายนของประเทศไทย รวมทั้งยังมีความเชื่อว่าเป็นการนำพาสิ่งที่ไม่ดีต่าง ๆ ออกจากชีวิต
วันสงกรานต์ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงเมื่อ พ.ศ. 2483 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากล อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ทางราชการ แต่วันสงกรานต์ก็ยังคงมีความสำคัญและขึ้นชื่อว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย