เมนูหลัก
วีดิทัศน์สำนักงานฯ
ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔
๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา
เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที
วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า
สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ
จากนั้น เป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสำรวจคุณภาพชีวิต ความสุข และความผูกพันในองค์กรของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และ รศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดย นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร น.ส.โสมอุษา บูรณะเหตุ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ น.ส.สตีจิตร ไตรพิบูลย์สุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีความมุ่งมั่นที่จะพลิกโฉมองค์กรให้เป็นองค์กรต้นแบบด้านสุขภาวะ โดยนำแนวคิด Happy Workplace หรือ องค์กรแห่งความสุข ของ สสส. มาประยุกต์ใช้ และมีกลไกในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในมิติของความสุขและคุณภาพชีวิตในการทำงานในรูปแบบของคณะกรรมการเสริมสร้างความผาสุกและความผูกพันของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายของสำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎรในการที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของส่วนราชการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้1. แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงานฯ ประเด็นการพัฒนาที่ 4 การสร้างระบบนิเวศในการทำงานให้เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนา Mindset (กรอบความคิด) และสมรรถนะของบุคลากรให้เท่าทันในศตวรรษที่ 21 (คนดี คนเก่ง คนกล้า)2. ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2570) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างองค์กรที่มีความสุข กลยุทธ์ที่ 4.2 พัฒนาคุณภาพชีวิตและความสุขของบุคลากร (Happy Workplace) ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานฯ ได้จัดทำแผนเสริมสร้างความผาสุกและความผูกพันของสำนักงานฯ ผ่านโครงการรัฐสภาร่วมใจรวมพลังสร้างสุข ภายใต้คณะกรรมการรัฐสภาร่วมใจรวมพลังสร้างสุข มีการกำหนดแผนงานในการพัฒนา ประกอบด้วย แผนปฏิบัติการพัฒนาองค์กร แผนปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ และแผนปฏิบัติการสื่อสารงานด้านสุขภาพ ให้แก่บุคลากรในสำนักงานฯ เป็นเวลากว่า 7 ปี โดยในปัจจุบันพบว่า บุคลากรสำนักงานฯ มีความตระหนักรู้ถึงมิติต่าง ๆ ในการสร้างองค์กรแห่งความสุขร่วมกันเป็นอย่างดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างองค์กรแห่งความสุขของสำนักงานฯ ให้เป็นองค์กรสุขภาวะ จึงต้องอาศัยเครื่องมือการวัดที่มีความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และตรงตามหลักวิชาการ โดย HAPPINOMETER ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดย สสส. และได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรทุกภาคส่วนตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา รวมถึงสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรด้วย ซึ่งนอกจากการวัดความสุขในการทำงานในทุกมิติแล้ว ยังครอบคลุมถึงการประเมินความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร และสมดุลชีวิตในการทำงานของคนทำงานด้วยเช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้สำนักงานฯ ได้ผลการประเมินระดับความสุขของบุคลากร และสามารถนำผลการประเมินฯ ดังกล่าว มาใช้ในการกำหนดนโยบาย ปรับปรุงพัฒนา ตลอดจนเห็นทิศทางผลสัมฤทธิ์ในการสร้างความสุขให้แก่บุคลากร รวมทั้งรับฟังเสียงสะท้อนจากบุคลากรที่มีต่อสำนักงานฯ จึงเป็นที่มาของการลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯ ในวันนี้