กลับหน้าหลัก หน้าหลัก
English
   
Untitled Document
  ค้นหา :
   เมนูหลัก
 ปฏิทินกิจกรรม
« ธันวาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด


  • กิจกรรมรัฐสภาสัญจร ปี 2557    download_icon

  • เสวนาการประกวดวรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • กีฬา "ภาคีนิติสัมพันธ์ ครั้งที่ 12"    download_icon

  • สำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด    download_icon

  • เพลง "กษัตริย์แห่งประชาธิปไตย"    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ประธานสปช. รับหนังสือข้อเสนอแนะในการปฏิรูปจากคณะทำงานการปฏฺิรูปการเมือง ทปอ.

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 3 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

วันพุธที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑  นายเทียนฉาย  กีระนันทน์ ประธานสภาปฏฺิรูปแห่งชาติ รับยื่นหนังสือจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ รักษาการประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อเสนอแนวทางในการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นข้อเสนอจากการประชุมของคณะทำงานการปฏิรูปด้านการเมืองที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย รายละเอียดดังนี้

          ๑. การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจทางการเมือง โดยให้แยกอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติออกจากกัน โดยทั้งสองอำนาจต่างยึดโยงมาจากประชาชน กล่าวคือ

              ๑.๑ ให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชนแบบเดียวกันกับการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. หรือนายกอบจ. ที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนทางตรง

             ๑.๒ สส. มีที่มาจาก ๒ ช่องทางคือ ก. มาจากการเลือกตั้งในพื้นที่โดยคำนวณจากฐานประชากร ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง และ ข. มาจากการเลือกตั้งของสาอาชีพทั้งนี้สส. จะทำงานด้านนิติบัญญัติและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ห้ามมิให้สส. ไปทำงานฝ่ายบริหาร

             ๑.๓ ให้สภาพลเมือง ไม่เกิน ๙๐๐ คน มาจากประธานสภาเทศบาลเลือกกันเองทั่วประเทศ  อำเภอละ ๑ คน เป็นการใช้อำนาจทางตรงในการตั้งกระทู้,ตรวจสอบ,ทวงถามการทำงานจากฝ่ายบริหารรวมทั้งเสนอปัญหาต่าง ๆ โดยตรงต่อฝ่ายบริหาร ประชุมปีละ ๓ ครั้ง ๆ ละ ๔ – ๕ วัน

             อย่างไรก็ตาม วุฒิสภายังไม่ได้ละเลยเสียทีเดียว ขึ้นอยู่กับการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจและหน้าที่ให้ชัดเจน มีการถ่วงดุลและไม่ซ้ำซ้อน

         ๒. การปฏิรูปพรรคการเมือง มุ่งหวังให้พรรคการเมืองไม่ถูกครอบงำจากกลุ่มทุน ให้เป็นพรรคการเมืองที่สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมและเป็นสถาบันการเมืองที่ยั่งยืน เสนอให้มีข้อกำหนดให้พรรคการเมืองต้องมีสมาชิกพรรคกระจายอยู่ทุกภาค ให้รัฐ จัดงบสนับสนุนแก่พรรคการเมืองที่สามารถปฏิบัติได้ตามข้อกำหนด เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมทางการเมืองได้ และให้มีมาตรการทางภาษีช่วยให้มีการบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองได้อย่างเปิดเผย

         ๓. ปฏิรูประบบผลตอบแทนให้สมฐานะทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จัดระบบสวัสดิการที่เหมาะสมกำหนดข้อห้ามต่าง ๆ เพื่อป้องกันการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อน รวมทั้ง บทลงโทษที่รุนแรงหากทำผิดระเบียบ โดยเฉพาะกรณีทุจริตและปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน

         ๔. เสริมสร้างกระบวนการอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเช่น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสเปิดเผยต่อสาธารณะมากที่สุด เพื่อให้มีการประเมินผลการทำงานของนักการเมืองตามมาตรฐานทางวิชาการและเปิดเผย เป็นต้น

         

 

 

download download Download all images download
ร้องเรียน / ร้องทุกข์ ห้องข่าว หนังสือและสื่อเผยแพร่ รัฐสภาเพื่อสังคม รัฐสภาไทยกับการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน 2558
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย สำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด ผู้ตรวจราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนฯ ติดตามข่าวสอบบรรจุเป็นข้าราชการ ติดต่อรัฐสภา
บันทึกบทความร้อยเรียงความประทับใจ รางวัลพานแว่นฟ้าแห่งรัฐสภาไทย
บริการกฎหมายสภาผู้แทนราษฎร เวทีสภา ข้อมูลการปฏิบัติงานตามคู่มือมาตรฐานงานด้านวิชาการของสำนักกรรมาธิการ
ชมรมกีฬายิงปืนข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ระบบข้อมูลด้านต่างประเทศ ของที่ระลึกจากรัฐสภา พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ
งานประชุมนานาชาติของราชบัณฑิตยสถาน โครงการสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา โครงการปลูกพืชให้ช้าง สร้างอาหารให้สัตว์ป่า เฉลิมพระเกียรติ
ติดต่อรัฐสภา การแข่งขันตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับรัฐสภา ความรู้ เรื่อง คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการฯ ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน บัญชีรายชื่อผู้แทนองค์กรเอกชน
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา
ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน เกาะติดภารกิจประธานรัฐสภา Web Mail สโมสรรัฐสภา ร้องเรียน / ร้องทุกข์
การแข่งขันตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับรัฐสภา รางวัลพานแว่นฟ้าแห่งรัฐสภาไทย ความรู้ เรื่อง คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการฯ โฆษกสาร
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา