หน้าหลัก
Untitled Document
  ค้นหา :
 
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

คลิกอ่านข่าววิทยุรัฐสภา

ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงให้สื่อมวลชนได้รับทราบถึงกรอบแนวทางในการพิจารณากระบวนการและระบบการเลือกตั้งที่จะนำมาใช้ในการร่างรัฐธรรมนูญ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๑๕ นาฬิกา ณ ห้องงบประมาณชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงให้สื่อมวลชนได้รับทราบถึงกรอบแนวทางในการร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง "กระบวนการและระบบการเลือกตั้ง" โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณาเพื่อจะให้ได้ระบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด ทั้งนี้หลักคิดที่สำคัญอันเป็นกรอบแนวทางในการร่างรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าว คือ
 
๑. ให้คะแนนของประชาชนไม่ถูกทิ้งเปล่า เพื่อเป็นการเคารพเสียงของประชาชนแท้จริง ทุกคะแนนเสียงของประชาชนมีความหมาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง
๒. เมื่อต้องการคนดีและพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง การเลือกตั้งต้องคำถึงทั้งพรรคและคน เพื่อจะได้ไม่มาพูดว่าส่งคนรถหรือเสาโทรเลขก็ได้รับเลือกตั้ง
๓. ระบบการเลือกตั้งจะไม่ทำให้ประเทศเป็นของพรรคใดพรรคหนึ่ง ไม่มีพรรคการเมืองใดผูกขาดภาคใดภาคหนึ่ง ระบบดังกล่าวไม่ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอแต่อย่างใด แต่กลับทำให้พรรคการเมืองปรับตัวเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น
๔. ระบบการเลือกตั้งต้องไม่ซับซ้อน ประชาชนเข้าใจง่าย โดยการใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียวในการเลือกตั้งทั้งระบบแบ่งเขตโดยตรงและระบบบัญชีรายชื่อ
๕. เป็นระบบการเลือกตั้งที่ส่งเสริมให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อทุกเสียงของประชาชนมีความหมาย จึงเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งมากขึ้น
 
ประเด็นเรื่อง Vote No นั้น มีการลงคะแนน Vote No มาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ได้เอาคะแนนดังกล่าวมานับ  ต่อมาจึงมีการกำหนดให้นับและประกาศให้ประชาชนทราบ ในวิกฤติการเมืองที่ผ่านมา เพื่อเป็นทางออกให้ประชาชนได้ไปใช้สิทธิโดยไม่ต้องฝืนใจ ทั้งนี้ตามกฎหมายเลือกตั้ง ถ้ามีผู้สมัครคนเดียว ผู้จะได้รับเลือกตั้งต้องได้คะแนนถึงจำนวนที่กำหนด จึงจะได้รับการเลือกตั้ง คนที่ Vote No แปลว่าไม่ประสงค์จะเลือกใครเลย ซึ่งแสดงว่าเป็นการบอกให้พรรค และสังคมทราบว่า ไม่ถูกใจผู้สมัครเป็นการปฏิเสธผู้สมัคร ดังนั้นต้องให้ความหมายกับ Vote No เพราะการ Vote No เป็นการแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนจากประชาชนว่าไม่อยากเลือกผู้สมัครคนนั้น ประเด็นที่สังคมกำลังสับสนและเข้าใจผิดคือ คนแพ้ Vote No ไม่สามารถลงรับสมัครเลือกตั้งได้ตลอดชีวิต ไม่ใช่ความจริง และกรธ. มิได้มีความคิดเห็นเช่นนั้น  ผู้ที่แพ้ Vote No ยังสามารถลงรับสมัครเลือกตั้งได้ ซึ่งขณะนี้กรธ. กำลังพิจารณาว่าจะให้ลงสมัครในการเลือกตั้งซ่อมหรือจะให้ไปลงสมัครในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่ผู้ที่ไม่มีสิทธิลงรับสมัครเลือกตั้งได้เลยนั้นคือผู้ที่ทุจริตการเลือกตั้ง
 
ทั้งนี้คาดว่าเรื่องกระบวนการและระบบการเลือกตั้งนั้น กรธ. จะสามารถพิจารณาได้แล้วเสร็จภายใน ๑ - ๒ สัปดาห์นี้  เรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่มีความใหม่ในสังคม จึงอยากขอให้สื่อมวลชนได้นำเสนอข้อมูลเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบอย่างถูกต้องด้วย
 
download download Download all images download
ร้องเรียน / ร้องทุกข์ หนังสือและสื่อเผยแพร่ ติดต่อรัฐสภา