หน้าหลัก
Untitled Document
  ค้นหา :
 
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

คลิกอ่านข่าววิทยุรัฐสภา

ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ รับข้อเสนอจากนายวสันต์ ภัยหลักลี้ อดีตสมาชิกสปช. และผอ.สถาบันต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 20 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

     วันอังคารที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๒๐ นาฬิกา ณ บริเวณหน้าศูนย์สื่อสารสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ  ร้อยเอก ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ รับยื่นหนังสือจาก นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และผู้อำนวยการสภาบันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อขอสนับสนุนหลักการในบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๘ อันเป็นไปเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมถึงขอเสนอข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอื่นๆ ดังนี้
ข้อเสนอแนะที่ ๑
     กำหนดให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเป็นสิทธิของปวงชนชาวไทย ทั้งนี้การจำกัดสิทธิดังกล่าวไม่อาจกระทำได้เว้นแต่โดยอาศัยอำาจบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น
ข้อเสนอแนะที่ ๒
     กำหนดให้มีกลไกและมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้ผู้กระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบเข้าสู่อำนาจรัฐ อาทิ กำหนดให้ผู้สนับสนุนการทุจริตการเลือกตั้งมีความผิดเทียบเท่าผู้กระทำความผิด และเป็นโทษร้ายแรง กำหนดยกเลิกอำนาจหน้าที่การออกใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ และกำหนดห้ามมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือกระทำการให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรม หรือให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะเหตุร่ำรวยผิดปกติหรือไมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ รวมถึงบุคคลซึ่งเคยถูกปลดออก ไล่ออก หรือให้ออกจากราชการเนื่องจากกระทำทุจริต กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติ มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเข้าสรรหาเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ข้อเสนอที่ ๓
     กำหนดให้มีกลไกและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอที่ ๔
     เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริต และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายใต้หลักการดังต่อไปนี้ เพิ่มบทบาทสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยรับมอบอำนาจจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นสมควร รวมถึงจำกัดความรับผิดชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบกรามการทุจริตแห่งชาติในกรณีข้าราชการ โดยกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เฉพาะกรณีการทุจริตของข้าราชการระดับ ๑๐ ขึ้นไปเท่านั้น และกำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระ ๖ ปี พร้อมทั้งกำหนดให้มีกลไกประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นไปที่อัตราการดำเนินคดีในชั้นศาลได้สำเร็จ และเปิดเผยผลการประเมินดังกล่าวเป็นการทั่วไป
ข้อเสนอที่ ๕
     กำหนดให้ ป.ป.ท. เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยมีรูปแบบการสรรหาคณะกรรมการและการบริหารจัดการทำนองเดียวกันกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และไม่ตกอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม
ข้อเสนอที่ ๖
     ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการติดสินบน หรือ Convention on Combating Bribery of Foreign Public Officials in International Business Transactions (OECD Anti-Bribery Convention)
 
จากนั้นเวลา ๐๙.๒๕ นาฬิกา ได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวให้กับนายธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย ประธานคณะอนุกรรมการรับฟังและสรุปความคิดเห็นที่มีผู้เสนอแนะ ในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญด้วย
download download Download all images download
ร้องเรียน / ร้องทุกข์ หนังสือและสื่อเผยแพร่ ติดต่อรัฐสภา