FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาภาคประชาชน เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเวทีอภิปรายและเสนอแนะความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.การศึกษาของสมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท.)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 7 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องสัมมนา B1-2 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาภาคประชาชน เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเวทีอภิปรายและเสนอแนะความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.การศึกษาของสมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท.) โดยมี นายดิเรก พรสีมา ประธานสมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท.) กล่าวรายงาน ทั้งนี้ ส.ส. ส.ว. คณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... และผู้แทนองค์กรทางการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนสมาชิก สคคท. ร่วมกิจกรรม โอกาสนี้ นายศุภชัย โพธิ์สุ กล่าวว่า ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเปิดกิจกรรมเวทีอภิปรายและเสนอแนะความคิดเห็น พร้อมทั้งอภิปรายสรุปภารกิจของ สคคท. พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคีเครือข่าย และจัดทำสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อให้ ส.ส. และ ส.ว. ใช้ประกอบการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ในวันนี้ โดยร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ฉบับนี้ คณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ได้ร่วมกันพิจารณาจนได้ข้อสรุป อันเกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษาเป็นอย่างมาก อาทิ 

1. การจัดให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษา ครอบคลุมการบรรลุเป้าหมายตามร่างมาตรา 8 ซึ่งเป็นเป้าหมายแต่ละช่วงวัย แต่ไม่ใช่เป้าหมายปลายทางซึ่งเป้าหมายปลายทาง คือ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาตามร่างมาตรา 6 รวมถึงครอบคลุมการพัฒนาทักษะและสมรรถนะ
2. การเพิ่มข้อความว่า "มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีความปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้" เพื่อมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้และสภาพของผู้เรียน มีสภาพสิ่งแวดล้อม และสภาวะที่ปลอดภัย รวมถึง การคำนึงถึงคนพิการหรือบุคคลซึ่งมีความต้องการจำเป็นพิเศษ
3. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 39 กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง ทั้งนี้ มีเหตุผลและข้อเสนอแนะสนับสนุนการกำหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลจากผลการศึกษาของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ดังนี้
1) โครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการจะต้องมีขนาดเล็กลง และเป็นสถานที่เพื่อเตรียมการพัฒนาให้แก่ผู้เรียน
2) จะต้องมีการกระจายอำนาจไปให้สถานศึกษาของรัฐอย่างแท้จริง
3) สถานศึกษาของรัฐต้องมีความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ไม่ใช่ตอบสนองความต้องการของรัฐ
4) กระทรวงศึกษาธิการต้องมีหน้าที่กำหนดนโยบายและมีหน่วยงานระดับกรมที่มีหน้าที่กำหนดการจัดการทรัพยากรบุคคล งบประมาณ ติดตาม กำกับจรรยาบรรณของสถานศึกษาของรัฐ อีกทั้งกำหนดให้สถานศึกษาของรัฐเป็นหน่วยปฏิบัติสามารถกำหนดการเรียนการสอนอย่างมีอิสระ ทั้งด้านงานวิชาการ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านบริหารงานทั่วไป และด้านงบประมาณ อีกทั้ง จะต้องมีการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาของรัฐ โดยมอบความไว้วางใจ สร้างความเชื่อมั่นและปลดปล่อยพันธนาการจากครูไปสู่ผู้เรียน จึงจะเป็นการปฏิรูปด้านการศึกษาอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ได้เสนอว่าสถานศึกษาแบบใหม่จะต้องมีลักษณะเป็นห้องปฏิบัติการทางสังคม และแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยสร้างกระบวนการการเรียนการสอนในลักษณะการสร้างแรงผลักดันให้กับผู้เรียน ทั้งนี้ ขอขอบคุณ ประธานคณะ กมธ. ส.ส. ส.ว. สคคท. และผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ได้เห็นความสำคัญและให้การสนับสนุน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และขออวยพรให้ทุกท่านประสบกับความสุขความเจริญ มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

จากนั้น นายศุภชัย โพธิ์สุ รับมอบหลักการเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ จากคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาภาคประชาชน และสมาชิก สคคท. เพื่อนำไปเสนอและขอเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ เพื่อการศึกษาของชาติไทยต่อไป

ต่อมาเป็นเวทีอภิปราย ซักถาม และเสนอแนะความคิดเห็นเพื่อนำเสนอต่อคณะ กมธ. ส.ส. และ ส.ว. สำหรับนำไปประกอบการอภิปรายลงความเห็นในการประชุมเพื่อพิจารณาลงมติรับร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองประธานคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ คนที่สาม นายเฉลา พวงมาลัย โฆษกคณะ กมธ. นายดิเรก พรสีมา กมธ.และที่ปรึกษา และนายกมลเทพ จันทรจิต กมธ. ดำเนินรายการโดย นายประชัน จันระวังยศ ที่ปรึกษาคณะ กมธ.


download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats