วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส. พรรคไทยศรีวิไลย์ แถลงข่าวกรณีการขอเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โดยเสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ มาตรา 249 ถึง มาตรา 254 และเพิ่มบทบัญญัติ หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 249 ถึง มาตรา 254/6 แทน โดยแก้ไขมาตรา 252 เพื่อดำเนินการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้มีกฎหมาย แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ คือ มีการจัดสรรรายได้ระหว่างราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเพิ่มขึ้นโดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในสามปีนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ และในมาตรา 254/6  ภายในสองปีนับจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะรัฐมนตรีทำแผนยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ภายในห้าปีนับจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฮฉบับนี้ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลได้โอนงบประมาณให้ราชการส่วนท้องถิ่นประมาณร้อยละ 30 จากงบประมาณรายจ่ายต่อปีประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท รัฐบาลสามารถออกพันธบัตรกู้เงินมาเพื่อบริหารประเทศ  ดังนั้น การจะโอนงบประมาณถึงร้อยละ 50 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีถึงปีละ 1.6 ล้านล้านบาท คือ เพิ่มจากเดิมอีก 6 แสนล้านบาท/ปี เพื่อเป็นเงินเดือน อัตราข้าราชการ พนักงานราชการส่วนภูมิภาค ไปสังกัด ราชการส่วนท้องถิ่น  สามารถทำได้ สำหรับประเด็นที่ต้องวิเคราะห์คือการทุจริตของราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่น อย่างใดมากกว่ากัน จากการที่เคยทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบการทุจริตนานกว่า 12 ปี การทุจริตจากโครงการส่วนท้องถิ่นประมาณร้อยละ 25 การทุจริตของราชการส่วนกลาง ประมาณร้อยละ 10-15  อยู่ระหว่างการดำเนินคดีจำนวนมาก การทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมามีจำนวนมากซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญ ส่วนประเด็นการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคแล้วให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการปกครองตนเองอิสระ มีงบประมาณกว่าร้อยละ 50 ของทั้งประเทศเป็นของตนเอง ราชการส่วนกลางไม่มีอำนาจในการยับยั้งโครงการ จะมีเฉพาะอำนาจศาลปกครอง ศาลยุติธรรมที่จะตัดสินถึงที่สุดจึงจะเปลี่ยนแปลงอำนาจได้ ก็ใช้เวลานานหลายปี สำหรับการให้ประชาชนในท้องถิ่นถอดถอน จะเป็นการสร้างแหล่งอิทธิพลของแต่ละท้องถิ่นแบบผูกขาดหรือไม่  และจะเป็นการสร้างระบบสาธารณรัฐทั้งหมด 77 รัฐใหญ่ในราชอาณาจักรไทย หรือไม่ แต่ละรัฐสามารถกู้เงิน ออกพันธบัตรเอง เป็นอิสระ โดยรัฐส่วนกลางไม่สามารถยับยั้งได้เลย จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียมากพอสมควร เรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ จึงขอเรียกร้องให้ ส.ส. และ ส.ว. พิจารณาการแก้รัฐธรรมนูญ ฉบับของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อย่างรอบคอบ และสิ่งสำคัญคืออาจจะมีผลกระทบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats