|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวรัฐสภา |
ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีสักการะพระพิฆเนศ และเปิดงาน วังหน้ากระโปรงบาน ขาสั้น ภาค 3
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 28 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.00 นาฬิกา ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วังหน้า กรุงเทพฯ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีสักการะพระพิฆเนศ และเปิดงาน วังหน้ากระโปรงบาน ขาสั้น ภาค 3 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสัมพันธภาพและความสามัคคีระหว่างศิษย์เก่าศิลปศึกษา ช่างศิลปะ รุ่นพี่และรุ่นน้องได้พบปะสังสรรค์ และสร้างเครือข่ายศิษย์เก่าให้ขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อให้เกิดประเพณีการจัดงานช่างศิลปวังหน้า เพื่อให้ศิษย์เก่าได้กลับมาสักการะองค์พระพิฆเนศและระลึกถึงความผูกพันที่มีต่อสถาบันต่อไป
โอกาสนี้ นายชวน หลีกภัย กล่าวในพิธีเปิดใจความตอนหนึ่งว่า นายศิลป์ พีระศรี (นามเดิม คอร์ราโด เฟโรจี) ผู้สร้างคุณูปการแก่วงการศิลปะของไทย โดยหวังที่จะผลิตบุคลากรของวิทยาลัยช่างศิลปะ โดยวิทยาลัยช่างศิลปะ มีชื่อเดิมว่า โรงเรียนศิลปศึกษา ต่อมากำหนดฐานะเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามีชื่อว่า โรงเรียนศิลปศึกษาเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร จากนั้น ได้มีการเรียนการสอนอาคารเรียนร่วมกับ โรงเรียนนาฏศิลป โดยเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นกลาง และต่อมาเปิดหลักสูตรประโยคมัธยมการช่าง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2517 จนปีการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นสูงเป็นรุ่นแรก ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนช่างศิลปขึ้นเป็น หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2539 และหลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง และในปี 2545 วิทยาลัยช่างศิลป ย้ายต้นสังกัด จากสถาบันศิลปกรรมมาเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ในวันนี้ (27 พ.ย. 65) ตนรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาพบปะพุดคุยกับรุ่นน้อง ตนได้ เริ่มศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาที่จังหวัดตรัง ต่อมาได้ศึกษาต่อทางด้านศิลปะ ที่โรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาลัยช่างศิลปในปัจจุบัน) ขณะเดียวกันตนได้เรียนนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ตนเคยฝึกฝนงานศิลปะมาตั้งแต่เรียนเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงมีพื้นฐานความรักและชอบศิลปะอยู่ อย่างน้อยก็ชอบดูผลงานศิลปะต่างๆ อาชีพและงานที่ทำมาโดยตลอดของตนไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ โดยสภาพอาชีพและงานที่ทำ ยากที่จะหาเวลาเป็นตัวของตัวเองได้มากพอที่จะนั่งทำงานศิลปะ จึงใช้เวลาสั้นๆ ทีมีอยู่เขียนเสก็ตช์ภาพผู้คนในงานบ้าง เมื่อปี พ.ศ. 2526 - 2529 นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งในเวลานั้นสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันหน่วยงานนี้คือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) จัดตั้ง "โครงการศิลปินแห่งชาติ" พ.ศ. 2527 ซึ่งโครงการนี้ ได้รับการยกย่อง จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นโครงการดีเด่นของชาติ พ.ศ. 2535 โดยได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปิน ผู้รังสรรค์ผลงานด้านศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และวรรณศิลป์ให้แก่ประเทศชาติ ทำให้ประเทศไทยได้รับการยกย่องสรรเสริญ จากนานาชาติว่า มีวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของชาติ จึงสมควรแก่การยกย่องเชิดชูเกียรติ ส่งเสริมสนับสนุน และให้กำลังใจแก่ศิลปิน ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ อันเป็นภูมิปัญญา ของแผ่นดินจากศิลปินรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
นอกจากนี้ เมื่อครั้งตนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตนได้ดำเนินการจัดทำโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อให้โอกาสนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสศึกษาต่อ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช่จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช่จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา เพื่อให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
ท้ายนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านที่ร่วมทำงานอย่างทุ่มเทเพื่อประโยชน์ของชาติ จะได้รับแต่งตั้งเป็นศิลปินแห่งชาติต่อไป |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|