หน้าหลัก
Untitled Document
  ค้นหา :
 
« ธันวาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

คลิกอ่านข่าววิทยุรัฐสภา

ห้องข่าว >> ข้อมูลข่าวในอดีต >> ข้อมูลการประชุม >> ข้อบังคับการประชุม >> ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฉบับปัจจุบัน
[ เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๗๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ] [ หมวด ๓ ] [ หมวด ๔ ] [ หมวด ๕ ] [ หมวด ๖ ] [ หมวด ๗ ] [ หมวด ๘ ] [ หมวด ๙ ] [ หมวด ๑๐ ] [ หมวด ๑๑ ] [ หมวด ๑๐ ] [ หมวด ๑๑ ] [ หมวด ๑๒ ] [ หมวด ๑๓ ] [ หมวด ๑๔ ] [ บทเฉพาะกาล ]
หมวด ๑๐


หมวด ๑๐
การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
--------------------------------------------

 

          ข้อ ๑๕๔ การเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๘๕ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธานสภา โดยระบุเรื่องที่จะขอเปิดอภิปรายและเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ในญัตติด้วย
          กรณีเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๘๕ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ต้องแสดงหลักฐานการยื่นคำร้องขอตามมาตรา ๓๐๔ ของรัฐธรรมนูญ

          ข้อ ๑๕๕ เมื่อประธานสภาได้รับญัตติตามข้อ ๑๕๔ แล้ว ให้ทำการตรวจสอบหากมีข้อบกพร่องให้ประธานสภาแจ้งผู้เสนอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับญัตติ
          เมื่อประธานสภาได้ตรวจสอบความถูกต้องของญัตติแล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วนและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ

          ข้อ ๑๕๖ การเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามมาตรา ๑๘๖ ของรัฐธรรมนูญ ให้นำความในข้อ ๑๕๔ เว้นแต่การเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และข้อ ๑๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

          ข้อ ๑๕๗ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเท่านั้นที่มีสิทธิอภิปรายชี้แจง
          การชี้แจงตามวรรคหนึ่ง จะชี้แจงคำอภิปรายของสมาชิกทีละคนเป็นลำดับไปหรือจะรอรวมชี้แจงครั้งละหลายคนก็ได้

          ข้อ ๑๕๘ ในการอภิปรายนั้น นอกจากที่กำหนดไว้ในส่วนนี้แล้ว ให้นำความในหมวด ๓ ส่วนที่ ๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ยกเว้นข้อ ๕๙

ร้องเรียน / ร้องทุกข์ หนังสือและสื่อเผยแพร่ ติดต่อรัฐสภา