FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวรัฐสภา
ประธานรัฐสภา ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ผู้พิพากษาในความคาดหวังของประชาชน” ในโครงการศึกษาอบรมปฐมนิเทศ หลักสูตร “ผู้ช่วยผู้พิพากษา” รุ่นที่ 76

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 20 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัญญาธรรมศักดิ์ ชั้น 7 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ผู้พิพากษาในความคาดหวังของประชาชน” ในโครงการศึกษาอบรมปฐมนิเทศ หลักสูตร “ผู้ช่วยผู้พิพากษา” รุ่นที่ 76 

โดยบรรยายตอนหนึ่งว่า ตนเป็น ส.ส. 16 สมัย และเป็นเนติบัณฑิต สมัยที่ 17 ซึ่งรุ่นตนเป็นอัยการสูงสุด หัวหน้าคณะศาลฎีกา ผู้พิพากษาชั้นผู้ใหญ่ และทนายอยู่ต่างจังหวัด 1-2 คน ตนเป็นคนเดียวในรุ่นที่ตัดสินใจไปเป็นนักการเมืองความจริง เมื่อ 54 - 55 ปีที่แล้ว ไม่ค่อยมีใครสนับสนุนให้เล่นการเมืองเพราะว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญสมัยนั้น เวลาเขียน 10 ปี รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2511 เป็นฉบับแรกที่ได้ใช้แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ห้ามส.ส.  เป็นรัฐมนตรี และมี ส.ว. มาจากข้าราชการประจำฉะนั้น เวลาเลือกตั้งก็รู้เลยว่าผลออกมาอย่างไร ใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2512 มา 2 ปี มีการยึดอำนาจ เพราะความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนมีน้อย ซึ่งปี 2512 มีการถ่ายทอดเสียงการประชุมสภาผู้แทนราษรผ่านทางวิทยุกระจายเสียง ทำให้ประชาชนที่สามารถรับฟังการเมืองได้มากขึ้นความกระตือรือร้นและมีความหวังในทางการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น 

เมื่อผ่านไป 2 ปีเศษ จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจ ปฏิกิริยาความไม่พอใจของประชาชน จึงมีเหตุการณ์ 14 ตุลา 2514 เกิดขึ้น ก็เป็นที่มาของประชาชนกับไล่รัฐบาล เป็นที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2518 ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่ดีที่สุดฉบับหนึ่ง เพราะร่างโดย อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ แต่ว่าเขียนเงื่อนไขไว้ในลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยทุกขั้นตอนจนปฏิบัติได้ยากรัฐบาลปี 2518 เป็นรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช รัฐธรรมนูญฉบับนั้น เขียนว่ารัฐบาลต้องแถลงนโยบายก่อน ต้องผ่านการเห็นชอบในนโยบายนั้นก่อนจึงจะบริหารประเทศได้ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลกกว่าฉบับอื่น แต่นั้นมาก็ไม่มีรัฐธรรมนูญ ที่ร่างแบบนั้นอีกเลยฉะนั้น เวลาเลือกตั้งก็รู้เลยว่าผลออกมาอย่างไร ใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2512 มา 2 ปี มีการยึดอำนาจ เพราะความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนมีน้อย ซึ่งปี 2512 มีการถ่ายทอดการประชุมสภาผู้แทนราษรผ่านทางวิทยุกระจายเสียง ทำให้ประชาชนที่สามารถรับฟังการเมืองได้มากขึ้นมีความกระตือรือร้นและมีความหวังในทางการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น เมื่อผ่านไป 2 ปีเศษ จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจ ปฏิกิริยาความไม่พอใจของประชาชน  จึงมีเหตุการณ์ 14 ตุลา 2514 เกิดขึ้น ก็เป็นที่มาของประชาชนกับไล่รัฐบาล เป็นที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2518 ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ เป็นประชาธิปไตยที่ดีที่สุดฉบับหนึ่ง เพราะร่างโดย อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ แต่ว่าเขียนเงื่อนไขไว้ในลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยทุกขั้นตอนจนปฏิบัติได้ยากรัฐบาลปี 2518 เป็นรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช รัฐธรรมนูญฉบับนั้น เขียนว่ารัฐบาลต้องแถลงนโยบายก่อน ต้องผ่านการเห็นชอบในนโยบายนั้นก่อนจึงจะบริหารประเทศได้ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลกกว่าฉบับอื่น แต่นั้นมาก็ไม่มีรัฐธรรมนูญที่ร่างแบบนั้นอีกเลยส่วนใหญ่จะเขียนว่าการแถลงนโยบาย เพื่อรับทราบ ไม่ใช่เพื่อพิจารณา ไม่ต้องลงมติจนบัดนี้ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นไกลจาก นักศึกษารุ่นนี้มากเพื่อให้ทราบ ผมเป็นส.ส.ครั้งแรกพ.ศ.2512 เมื่อ 54 ปีที่แล้ว ที่ไม่มีความเจริญเท่าวันนี้ การจราจร การสื่อสารไม่สะดวก การซื้อสิทธิขายเสียงก็ยังไม่มี ใช้การปราศรัย หาเสียง ให้ความรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย  มาเป็น ส.ส. จนปัจจุบันนี้ เป็นโครงสร้างทางการเมืองที่ยังไม่มีการพัฒนา จนปัจจุบันก้าวเข้าระบอบประชาธิปไตยที่มีการพัฒนามากขึ้น จนมีรัฐธรรมนูญปี 2540 บัญญัติว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และเกิดองค์กรอิสระขึ้นมามากมายเพื่อรองรับสถานการณ์การเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็มีการยึดอำนาจในปี 2550 แก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2540 บ้านเมืองจะปกครองอย่างยุติธรรมได้ต้องปกครองด้วยคนดี ปราชญ์รุ่นหลัง กล่าวว่า หลักการปกครองที่ดีต้องปกครองด้วยหลักกฎหมาย (Rule of law) ซึ่งหมายถึง “หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย”ซึ่งจำกัดอำนาจในทางนิติบัญญัติเพื่อป้องกัน มิให้ใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมายและเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลให้เป็นไป โดยเสมอภาคกันตามกฎหมาย” เพราะคนเปลี่ยนแปลงได้แต่หลักถ้าไม่แก้ไม่เปลี่ยนก็ใช้ได้ตลอดไป สำหรับประเทศต้องมีทั้งคนที่ดีและหลักที่ดีเป็นกรอบ บ้านเมืองต้องมีกระบวนการที่มีหลักว่า โครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการเป็นอย่างไร องค์กรอื่นมีบทบาทและอำนาจที่ต่างไปโดยเด็ดขาด  ซึ่งมีการประชุมศาลฎีกา เพื่อมีกระบวนการคัดสรรบุคคลเข้ามาดำเนินงานในฝ่ายต่างๆ เข้มข้นขึ้นต่อภารกิจที่รองรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น อันเกิดจากที่ คิดว่ารูปแบบเดิมไม่เพียงพอรับสถานการณ์ได้ ความคิดเรื่องศาลปกครองจึงมีตั้งแต่สมัยที่ตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในที่สุดก็เกิดโครงสร้างปกครองขึ้นมาสมัยนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ขณะนั้นองค์กรดูแลการเลือกตั้งคือ กระทรวงมหาดไทย แต่ปัจจุบัน คือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สำหรับองค์กรตรวจคอร์รัปชัน (ปปป.) เกิดตั้งแต่ สมัย อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ตนเป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2520 ซึ่งต่อมาในปี 2553 เป็น รมว.ยุติธรรมและ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ปปป. เลือกคนที่ดีที่สุดจากศาล จากมหาดไทย ตำรวจ ต่าง ๆ เหล่านี้มารวมกันเพื่อมาปฏิบัติงาน แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะนักการเมือง ไม่รับ แต่รัฐบาลต่อมายอมรับบุคคลดังกล่าวเข้ามาทำงาน รัฐธรรมนูญ ปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากประชาชน  แต่มีวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า “ต้มยำกุ้ง” ซึ่งเป็นสถานการณ์ เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงินกับต่างประเทศ รัฐบาลในขณะนั้นลาออก พรรคประชาธิปัตย์จึงได้จัดตั้งรัฐบาล มีตน เป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ได้เข้ามาแก้ไขวิกฤติต้มยำกุ้ง โดยยกเลิกสัญญาการซื้ออาวุธกับประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ และได้มัดจำคืนโดยรัฐบาลได้ศึกษาว่าจะป้องกันการเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งขึ้นอีกด้วยการใช้หลักธรรมาภิบาลอยู่บนพื้นฐาน 6 ประการ 1. หลักนิติธรรม  2. หลักคุณธรรม  3. หลักความโปร่งใส  4. หลักความมีส่วนร่วม 5. หลักความรับผิดชอบ 6. หลักความคุ้มค่า และ “หลักความไม่เกรงใจ” เพราะประเทศไทยเคยชินกับคำว่าเกรงใจ จนบางครั้งยอมกระทำในสิ่งที่ผิด ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ถูกต้อง แต่ยังกระทำเพราะความเกรงใจ 

อย่างไรก็ตามรัฐบาล พ.ศ. 2540 ได้ดำเนินนโยบายโดยใช้หลักนิติธรรมผิดพลาด จึงได้มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 3 ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ วรรคสอง บัญญัติว่า รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวมซึ่งต้องเพิ่มหลักนิติธรรมโดยให้ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรที่ตัดสินความถูกความผิดของการกระทำของประชาชน บทบาทอำนาจของแต่ละฝ่าย ไม่ควรมองข้าม นอกจากการปฏิบัติตามหลักนิติธรรม การสร้างระบบที่ดีควบคู่ไปกับคนดีแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การสร้างการรู้หน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เคยทรงมีพระบรมราโชวาทเนื่องวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ติดต่อกัน 2 ปี คือ ในปี 2552 และ 2553  เนื่องจากสองปีนั้นเกิดวิกฤตการเมือง คือ ในปี 2552 เกิดเหตุการณ์ล้มประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ไทยเป็นเจ้าภาพ และในปี 2553 เกิดเหตุการณ์ประท้วงขับไล่รัฐบาลอย่างรุนแรงมีประชาชนล้มตาย สำหรับในปัจจุบันมีการทุจริตเยอะตนได้ให้รัฐสภาจัดทำโครงการ “บ้านเมืองสุจริต” ได้ตัวแทนมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้ามาร่วมโครงการ ภายใต้แนวคิด “ประเทศรุ่งเรือง เมื่อบ้านเมืองสุจริต” โดยมุ่งหวังให้สร้างค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตเกิดขึ้นในหมู่เยาวชนในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศปลูกฝังความดีงาม ให้มีความซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อหน้าและลับหลังให้ฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย  อย่าดูดายเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตเพื่อให้ตัวเรา สังคม และประเทศชาติมีอนาคตที่ดี และพึงระลึกไว้เสมอว่า “ประเทศจะรุ่งเรือง เมื่อบ้านเมืองสุจริต” เมื่อเยาวชน 10 คนจาก 100 คน ปฏิบัติตามคำสอนนี้ 10 คนนั้นอาจโตขึ้นเป็นผู้บริหารบ้านเมืองที่ดี เพราะมาจากฐานที่สุจริต ทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง 

สำหรับการเมืองของไทยมี 3 อำนาจ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ฝ่ายบริหารมาจากแต่งตั้งโดยเสียงข้างมากของรัฐสภา หากเสียงข้างมากมจากระบบโกงเลือกตั้งซื้อเสียงรัฐบาลก็มาจากการโกง การที่รัฐบาลชุดนั้นจะสุจริต นั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องยอมรับว่ากระบวนการประชาธิปไตย นั้น บทสำคัญคือการคานอำนาจซึ่งกันและกัน ในระบบนี้การคานอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารนั้นทำได้ยากเพราะว่ารัฐบาลเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา ต้องพึ่งพาเสียงฝ่ายค้านซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยทำให้การตรวจสอบนั้นทำได้ยาก ขณะนี้ฝ่ายนิติบัญญัติมีการยื่นญัตติตรวจสอบรัฐบาลโดยขออภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามมาตรา 151 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  ภาระหนักจึงตกอยู่ที่ฝ่ายตุลาการ ในหัวข้อที่ว่า “ผู้พิพากษาในความคาดหวังของประชาชน ” เป็นวิชาที่ต้องศึกษา ผู้พิพากษาในความคาดหวังของประชาชน นั้น คือ ประชาชนต้องการคนที่มีความเข้มแข็งในเรื่องจริยธรรม แต่ต้องการย้ำความสำคัญขององค์กรตุลาการคือ สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันฝ่ายตุลาการจะถูกพาดพิงตลอดเวลา แต่ระบบศาลถือว่า ดำรงมาได้ดีที่สุดมั่นคงที่สุดไม่ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะพลิกผันไปเช่นใด แต่กระบวนการยุติธรรมยังคงมั่นคงไม่ไขว้เขวไปที่อื่น อันเกิดขึ้นจากผลพวงที่องค์กรยุติธรรมที่ดำรงอยู่มานานเป็น100 ปี สะสมความเข้มแข็ง ความยุติธรรมเป็นหลักการที่ดีงามมาโดยตลอด แต่ไม่ได้ทำได้ทุกคนเพราะศาลมีบุคลากรมาก จึงต้องย้อนกลับไปดูพระบรมราโชวาทของในหลวง ร.9 ที่ว่า “บ้านเมืองมีทั้งคนดีและไม่ดี” ไม่มีองค์การไหนที่ไม่มีคนไม่ดี  แต่ถือว่าองค์กรศาลปลอดจากคนไม่ดีมากที่สุด ในสถานการณ์ปัจจุบันขอให้เข้าใจว่า สถานการณ์ไม่เหมือนเดิม มีการรุกล้ำโดยไม่กลัวความผิด ศาลต้องปฏิบัติตามหลักนิติธรรมอย่างหนักแน่น ต้องรักษาไว้ให้ได้เพราะฝ่ายอื่นไม่หนักแน่นเท่าองค์กรศาล เหมือนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งว่า “เมื่อกฎหมายเราดีอยู่แล้วสิ่งที่ต้องการคือ นักกฎหมายที่ดีแท้”  ความดีแท้ คือ ต้องไม่หวั่นไหวไม่กลัวต่ออำนาจใด ๆ และความที่ไม่หวั่นไหวในการวินิจฉัยคดี


download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
เยี่ยมชมรัฐสภา
ของที่ระลึกจากรัฐสภา Souvenir
รางวัลพานแว่นฟ้า
โครงการประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย
ยุวชนประชาธิปไตย
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
สำนักงบประมาณของรัฐสภา


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...


สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
ss
Share

View My Stats