|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แถลงข่าวว่า วันนี้ที่ประชุมคณะ กมธ.
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 19 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2565 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายสมชัย ศรีสุทธิยากร โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แถลงข่าวว่า วันนี้ที่ประชุมคณะ กมธ. ได้พิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่.. ) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คาดว่าในวันที่ 24 พ.ค.65 ประธานคณะ กมธ. และคณะ จะนำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ กราบเรียนประธานรัฐสภา เพื่อให้บรรจุในระเบียบวาระการประชุม ซึ่งคาดว่าจะสามารถนัดประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันที่ 9-10 มิ.ย. 65 ในวาระ 2-3
สำหรับ จุดเด่นของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มี 7 ประเด็นสำคัญ คือ 1.หมายเลขของผู้สมัคร ส.ส.เขตและ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คณะ กมธ. มีมติ ให้เป็นแบบต่างเขตต่างเบอร์ และคนละเบอร์กับแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นไปตามร่างของรัฐบาล เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า พรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัครแบบเขตก่อนจึงจะส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อได้ และกระบวนการการับสมัครของเขตเลือกตั้งจะมีขึ้นก่อนการรับสมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อซึ่งพรรคใดมาสมัครก่อนก็ได้เบอร์ก่อน 2.การแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งทาง กกต. ต้องแบ่งประเทศออกเป็น 400 เขตเลือกตั้ง 9 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 83 ที่ให้มีส.ส.เขต 400 คน จึงต้องแบ่งประเทศออกเป็น 400เขต ในชั้น กมธ.จึงได้เพิ่มข้อความเพื่อให้เกิดความยุติธรรม เพราะในอดีตมีข้อร้องเรียนว่าการแบ่งเขตนั้นมีความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง ซึ่งในจังหวัดเดียวกันที่มีหลายเขต ผลต่างของจำนวนประชากรต่างไปจากจำนวนเฉลี่ยของประชากรในแต่ละเขตของจังหวัดนั้นไม่ได้เกินร้อยละ10 ถ้าจังหวัดหนึ่งมี 3 เขต จำนวนประชากรของแต่ละเขตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของค่าเฉลี่ย โดยค่าเฉลี่ยนั้นหาจากจำนวนประชากรทั้งจังหวัดก่อนว่ามีค่าเฉลี่ยของแต่ละเขตเท่าใดและเมื่อแบ่งเขตต้องมีประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของค่าเฉลี่ยประชากรทั้งจังหวัด เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบของผู้สมัครรับเลือกตั้ง 3. การเพิ่มกรรมการประจำหน่วยเป็น 9 คน แบ่งเป็นกรรมการ 8 คน ประธานกรรมการ 1 คน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอีก 2 คน ซึ่งกฎหมายเดิมให้มีกรรมการประจำหน่วยแค่ 5 คน เหตุที่ต้องเพิ่มจำนวนกรรมการประจำหน่วยเพราะมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบมีหีบเลือกตั้ง 2 แบบ การนับคะแนนต้องนับ 2 กระดาน และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน 4.การเพิ่มการนับคะแนนนอกราชอาณาจักร เพราะมีประชาชนคนไทยที่ไปอาศัยในต่างประเทศ ที่ผ่านมาระบบในการนับคะแนนต้องส่งบัตรเลือกตั้งกลับมาที่เมืองไทยและบัตรต้องกลับมาถึงก่อน 17.00น. ของวันเลือกตั้ง หากมาถึงล่าช้ากว่ากำหนดจะกลายเป็นบัตรเสียซึ่งคณะ กมธ.พิจารณาแล้ว มีมติว่าถ้าประเทศใดที่กระทรวงการต่างประเทศและคณะกรรมการการเลือกตั้งมีความพร้อมสามารถให้นับที่ประเทศนั้น ๆ ได้เพื่อไม่ให้ประชาชนเสียสิทธิในการเลือกตั้ง 5.ในขณะนับคะแนนประชาชนผู้ร่วมสังเกตการณ์สามารถบันทึกภาพและเสียงการนับคะแนน โดยไม่ขัดขวางการทำงานของคณะกรรมการประจำเขต และคณะกรรมการประจำเขตต้องอำนวยความสะดวกแก่ผู้สังเกตการณ์นั้นด้วย 6. ผลการนับคะแนนรายหน่วย ในอดีตให้มีการปิดประกาศไว้ที่หน้าหน่วยการเลือกตั้งนั้นๆเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ไม่สะดวกในการสืบค้น ดังนั้น คณะ กมธ.จึงเขียนไว้ว่า คณะกรรมการรายหน่วยต้องเผยแพร่ผลการนับคะแนนรายหน่วยบนเว็บไซต์ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากการปิดหีบเลือกตั้งเพื่อความโปร่งใส ทำให้สามารถตรวจสอบได้ง่าย 7. การคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คณะ กมธ. มีมติให้ใช้100 หาร และเป็นการนับคะแนนแบบคู่ขนาน คือใครได้คะแนนเขตมากที่สุดก็ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขต นั้น ส่วนบัตรบัญชีรายชื่อก็นับรวมทั้งประเทศโดยอาผู้มาใช้สิทธิทั้งประเทศมาใช้ 100 หาร เพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน ซึ่งคาดว่าประมาณ 350,000-370,000 คะแนน ที่จะใช้มาคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน ส่วนการปัดเศษอาจจะเกิดขึ้นเพราะมีเศษเหลือจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าการปัดเศษนี้น่าจะเป็น 100,000 คะแนนที่จะได้ ส.ส.ปัดเศษต่อ 1 คน ซึ่งมีคณะ กมธ. เสียงข้างน้อยขอสงวนคำแปรญัตติ ไปอภิปรายในวาระ 2 ต่อไป สำหรับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จะมี 7 ประเด็นสำคัญคือ 1. อัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าบำรุงพรรครายปีของสมาชิกพรรคนั้นจากเดิมที่เคยเก็บ 100 บาท คณะ กมธ. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมปีละ 20 บาท 2. อัตราค่าธรรมเนียมสมาชิกพรรคตลอดชีพ ของสมาชิกพรรคนั้นจากเดิมที่เคยเก็บ 2,000บาท คณะ กมธ. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมปีละ 200 บาท 3. ลดคุณสมบัติของสมาชิกพรรค เดิมคุณสมบัติของสมาชิกพรรคเทียบเคียงกับผู้ก่อตั้งพรรคฯหรือผู้สมัครส.ส. คณะ กมธ. พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ลดลง 4. การตั้งตัวแทนพรรคการเมืองให้ตั้งตามที่พรรคฯ เห็นสมควร 5. การตั้งสาขาพรรคฯ เดิมต้องมีสาขาพรรค ในเขตที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งคณะ กมธ. ได้เปลี่ยนเป็นต้อง มีสาขาพรรคในจังหวัดที่พรรคส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อผ่อนคลายความเครียดให้กับพรรคการเมือง 6. การจัด ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อนั้น คณะ กมธ.กำหนดว่าต้องคำนึงถึงภูมิภาคต่าง ๆ และความเท่าเทียมของผู้หญิงและผู้ชาย 7. เรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องการทำ primary vote ไม่ว่าจะเป็นการทำ primary vote แบบเขต หรือ primary voteแบบบัญชีรายชื่อให้มีการประชุมพรรคระดับจังหวัด ให้ความเห็นชอบกับรายชื่อที่กรรมการสรรหาของพรรคจัดมา เมื่อพิจารณาเสร็จให้ส่งให้คณะกรรมการบริหารพรรคตัดสินเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้การทำ primary vote สะดวกมากขึ้น หากจังหวัดใดไม่มีสาขาพรรคก็สามารถไปร่วมประชุมกับจังหวัดใกล้เคียงที่มีสาขาพรรคเพื่อรักษาสิทธิของตนได้ |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|