FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวรัฐสภา
ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ สภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทยกับมุมมองของนักการเมืองต่อกระบวนการยุติธรรมไทย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 26

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 25 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 08.45 – 11.55 นาฬิกา ณ ห้องทำงานประธานรัฐสภา ชั้น 10 อาคารรัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ "สภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทยกับมุมมองของนักการเมืองต่อกระบวนการยุติธรรมไทย" ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 26 จัดโดยสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม

ทั้งนี้ นายชวน หลีกภัย ได้กล่าวใจความตอนหนึ่งว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญมาเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 26 ในวันนี้ ซึ่งเป็นการบรรยายถึงสภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทยที่ได้เรียนรู้ รับทราบจากประสบการณ์ของการทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นนักการเมือง ทั้งในฐานะที่เคยได้ทำหน้าที่ในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เพื่อถ่ายทอดมุมมองของนักการเมืองต่อกระบวนการยุติธรรมไทย โดยหลักสำคัญที่ต้องยึดเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน คือ การยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองคลองธรรม นอกจากนี้ ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี สามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยไม่ได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนได้กำหนดและเสนอเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลักธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม การปฏิบัติราชการต้องใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2. หลักคุณธรรม การปฏิบัติราชการต้องมีจิตสำนึกความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีศีลธรรม คุณธรรม และตรงตามความคาดหวังของสังคม รวมทั้งยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และจรรยาบรรณวิชาชีพ
3. หลักความโปร่งใส การปฏิบัติราชการต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา รวมทั้งต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและเชื่อถือได้ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน ตลอดจนวางระบบให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเป็นไปโดยง่าย
4. หลักการมีส่วนร่วม การปฏิบัติราชการต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องร่วมกันคิดแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินงานและร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน
5. หลักความรับผิดชอบที่อธิบายได้ การปฏิบัติราชการต้องสามารถตอบคำถามและชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย รวมทั้งต้องมีการจัดวางระบบการรายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและการให้คุณให้โทษ ตลอดจนมีการจัดเตรียมระบบการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาและผลกระทบใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
6. หลักความคุ้มค่า การปฏิบัติราชการต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เกิดผลิตภาพที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม
เมื่อกล่าวถึงหลักธรรมาภิบาลแล้ว จะพบว่าสภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทย สามารถจำแนกเนื้อหารายละเอียดของสภาพปัญหาได้ดังต่อไปนี้
1. ปัญหาเกี่ยวกับระบบการบริหารงานยุติธรรม
2. ปัญหาเกี่ยวกับระบบการดำเนินคดีอาญา
3. ปัญหาเกี่ยวกับระบบการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด
4. ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติโดยไม่ชอบธรรมจากบุคคลในกระบวนการยุติธรรม
5. กระบวนการยุติธรรมขาดการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากประชาชน
6. กระบวนการยุติธรรมขาดองค์ความรู้และศักยภาพในการพัฒนา 
7. บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมขาดจิตสำนึกและขาดทัศนคติที่ดีในการให้บริการความยุติธรรมแก่ประชาชน

ทั้งนี้ จากสภาพปัญหาข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยประสบกับปัญหาสำคัญหลายประการทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ทั้งในเรื่องของกฎหมายบางฉบับที่ล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับสภาพของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้อำนาจในการออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อคนเฉพาะกลุ่ม และปัญหาด้านการทุจริตคอร์รัปชันที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับคนส่วนใหญ่ในสังคม ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรมและทั่วถึง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นการผลักดันให้เกิดการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ อีกทั้งยังเป็นกลไกในการควบคุมติดตามและตรวจสอบ โดยมีประชาชนหรือองค์กรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม ประกอบกับการยึดหลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีระเบียบวินัย ซึ่งผู้บริหาร และข้าราชการทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ โดยให้ความสำคัญกับผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม นอกจากนี้ต้องทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจเรื่องสำคัญของสังคม ดังนั้น จึงต้องปรับวิธีคิดโดยให้ทุกฝ่ายบูรณาการการทำงานร่วมกัน และนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคมในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารตามสิทธิที่มีอยู่ และผู้ที่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนการรณรงค์ให้ประชาชนรู้สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย และตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการยุติธรรมในฐานะเป็นกลไกหลักในการผดุงไว้ซึ่งหลักนิติธรรมอย่างจริงจัง
สำหรับการอบรมหลักสูตรดังกล่าว สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรทุกภาคส่วนได้เสริมสร้างความรู้และวิทยาการด้านกระบวนการยุติธรรม การเมืองการปกครอง สภาพสังคม และสภาพเศรษฐกิจ อันจะนำความรู้ไปพัฒนาประเทศให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งร่วมกันสร้างแผนยุทธศาสตร์กระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ อันจะเป็นแนวทางให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปศึกษา หรือนำแนวทางไปดำเนินการให้กระบวนการยุติธรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนกระชับความร่วมมือทางการศาลยุติธรรม และความร่วมมือทางวิชาการ อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสถานะและบทบาทศาลยุติธรรมในเวทีระหว่างประเทศ และสร้างความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการบริหารงานพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ รวมทั้งสามารถนำองค์กรไปสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติต่อไป
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
เยี่ยมชมรัฐสภา
ของที่ระลึกจากรัฐสภา Souvenir
รางวัลพานแว่นฟ้า
โครงการประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย
ยุวชนประชาธิปไตย
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
สำนักงบประมาณของรัฐสภา


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...


สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
ss
Share

View My Stats