FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ พร้อมด้วยนายปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล รับยื่นหนังสือจาก นายสมบูรณ์ คำแหง ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนา จ.สตูล และคณะ เพื่อขอให้ตรวจสอบโครงการให้สัมปทานแหล่งหินซึ่งเป็นภูเขา 3 ลูก ในเขตอุทยานธรณีโลก จ.สตูล

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา  นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ พร้อมด้วยนายปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล รับยื่นหนังสือจาก นายสมบูรณ์ คำแหง ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนา จ.สตูล และคณะ เพื่อขอให้ตรวจสอบโครงการให้สัมปทานแหล่งหินซึ่งเป็นภูเขา 3 ลูก ในเขตอุทยานธรณีโลก จ.สตูล

ตามที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศรับรองให้ จ.สตูลเป็น "แหล่งอุทยานธรณีระดับโลก" หรือ Satun Geopark แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อปี 2562 ด้วยเป็นที่ประจักษ์ว่า ผืนดินแห่งนี้มีบันทึกหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตยุคเก่าอันเกิดจากการสร้างแหล่งออกซิเจนให้กับโลกในช่วงเวลานั้น ต่อมาเมื่อมีการยกตัวของเปลือกโลกเทือกเขาและถ้ำซึ่งได้กลายเป็นบ้านหลังแรกของมนุษย์โบราณจนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่ยังมีผู้คนดำรงชีวิตในพื้นที่แห่งนี้ภายใต้การพึ่งพาฐานทรัพยากรอันทรงคุณค่า และก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ แต่ในขณะนี้สำนักงานอุตสาหกรรม จ.สตูล อยู่ระหว่างดำเนินการอนุญาตให้มีการสัมปทานแหล่งหิน โดยระเบิดหินอุตสาหกรรม ใน จ.สตูล ซึ่งเป็นภูเขา จำนวน 3 ลูก คือ เขาลูกเล็กลูกใหญ่ อ.ทุ่งหว้า เขางูหนุงนุ้ย อ.ละจู และเขาโต๊ะกรัง อ.ควนโดน - อ.ควนกาหลง ทั้งยังพบว่ากระบวนการดำเนินการดังกล่าวมีการรวบรัดขั้นตอนและมีความมิชอบในการดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ และ จ.สตูล ได้ถูกยกย่องให้เป็นเมืองอุทยานธรณีระดับโลก ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ แต่กลับปล่อยให้มีบริษัทเอกชนเข้ามาขอสัมปทานแหล่งหินได้อย่างปกติทั่วไป เสมือนไม่มีสำคัญที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาเพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของอุทยานธรณีตามที่องค์การยูเนสโกได้ประกาศไว้ ทางเครือข่ายฯ จึงมีความกังวลว่าการปล่อยให้มีการสัมปทานแหล่งหินดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อแหล่งอุทยานธรณี จ.สตูลและต่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวม ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจรับรองให้ จ.สตูลเป็นแหล่งอุทยานธรณีระดับโลกในการประเมินรอบต่อไป จึงขอเสนอให้คณะ กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกระบวนการดำเนินโครงการดังกล่าว ดังนี้
1. โครงการสัมปทานเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่มีบริษัท สตูลไมน์นิ่ง จำกัด เป็นผู้ขอสัมปทาน ซึ่งทราบว่าปัจจุบันโครงการได้รับอนุมัติผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Assessment  : EA) และการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าจากกรมป่าไม้แล้ว แต่ในข้อเท็จจริงกลับมีข้อสงสัยถึงกระบวนการการศึกษาที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึงตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ รวมถึงการศึกษาดังกล่าวไม่มีการบันทึกข้อเท็จจริงไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งอาจขัดกับหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 ที่มีข้อห้ามในการสัมปทานในบางกรณี ในพื้นที่มีแหล่งน้ำซึมชับ หรือพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ 
2. ในกระบวนการดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EA) ได้เคยมีการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่หลายครั้ง แต่กลับไม่มีการนำข้อร้องเรียนเหล่านั้นไปสู่การพิจารณาแต่ยังคงเดินหน้าจัดทำจนแล้วเสร็จในปี 2564 ทั้งที่อยู่ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างหนัก
3. การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่า จำนวน 118 ไร่ ซึ่งได้เคยมีการสำรวจร่วมกันระหว่างนักวิซาการป่าไม้ชำนาญการของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.สตูล ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ โดยพบว่าเป็นพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (Zone C) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 และ 17 มี.ค. 35 และยังพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 2 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 32 ซึ่งหากอนุญาตจะต้องเป็นมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น จึงมีข้อสงสัยว่ากรมป่าไม้ได้ใช้อำนาจใดในการออกใบอนุญาตดังกล่าวได้

ซึ่งนายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า กรณีการขออนุญาตระเบิดเหมืองหินในเขตอุทยานธรณีโลก จ.สตูล ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ หากปฏิบัติตามกฎหมายแล้วจะไม่สามารถอนุญาตให้ใช้พื้นที่ได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะ กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน และคณะ กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อไป

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats