FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ และนายธีรภัทร พริ้งศุลกะ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าว

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 8 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2564 เวลา 15.15 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ และนายธีรภัทร พริ้งศุลกะ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวว่า ตามที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ต่อรัฐสภา จำนวน 8 ฉบับ โดยรัฐสภามีมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91) ในฐานะผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญ ขอขอบคุณสมาชิกรัฐสภา ทุกท่านที่ให้ความเห็นชอบและถือเป็นการแก้ไขบริบทสำคัญทางการเมือง ที่ทำให้การเมืองขาดเสถียรภาพและไม่สอดคล้องกับการพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการซื้อสิทธิขายเสียง นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ไขเพื่อให้พรรคการเมืองเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและจะส่งผลต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงขอเชิญชวนสมาชิกรัฐสภาและ กมธ. ช่วยกันแปรญัตติเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความสมบูรณ์มากที่สุด และยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นเพื่อลดจุดอ่อนเพิ่มจุดแข็งและนำไปใช้ได้จริง
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอขอแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91) อาทิ ขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 3 (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83) โดยเพิ่มเติมประเด็น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและรับโดยให้ใช้บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละหนึ่งใบ ขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 4 (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 91) โดยเพิ่มเติมประเด็น บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศให้ถือว่าไม่มีผู้ใดในบัญชีนั้นได้รับเลือกตั้งและมิให้นำคะแนนเสียงดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อหาสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนกรณีที่พรรคก้าวไกลกล่าวว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองใหญ่นั้น ขอยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีเจตนาจะเอื้อผลประโยชน์ให้กับฝ่ายใด และต้องการเสนอให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ขึ้นมาแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าไม่สามารถดำเนินการได้ พรรคจึงเลือกเสนอร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน 3 ประการ คือ 1. ระบบการเลือกตั้งต้องเป็นระบบที่ประชาชนคุ้นเคย เข้าใจง่าย 2. ระบบการเลือกตั้งต้องส่งเสริมให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง 3. ระบบการเลือกตั้งต้องนำไปสู่ประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats