FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
การหารือรัฐสภาระหว่างภูมิภาคของ EP และAIPA (Inaugural EP-AIPA Inter-Regional Parliamentary Dialogue)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลา 14.30 - 17.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา การริเริ่มการหารือระหว่างรัฐสภาระดับภูมิภาคของ EP และ AIPA จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง AIPA และคณะสมาชิกสภายุโรปจากกลุ่มความสัมพันธ์กับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน (Delegation for relations with the countries of Southeast Asia and ASEAN: DASE) วัตถุประสงค์ของการหารือ คือ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับรัฐสภาระหว่าง EP และรัฐสภาภาคีสมาชิก AIPA ผ่านช่องทาง   การหารือแลกเปลี่ยนแนวคิดในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน การหารือฯ แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ คือ 

(1) อนาคตทางการค้าของ EU และ ASEAN : การเปรียบเทียบแนวทางการเจรจาแบบทวิภาคี และแบบภูมิภาคต่อภูมิภาค (The Future of EU-ASEAN Trade: From Bilateral to Bi-Regional Approach) 

(2) การรับมือกับโรคโควิด-19 : การบรรเทาผลกระทบด้านลบของการระบาดใหญ่ในภูมิภาค EU และ ASEAN (COVID-19 Response: Mitigating the Negative Effects of the Pandemic in the EU and in ASEAN) 

ในส่วนของรัฐสภาไทย นางสาวเพชรชมพู กิจบูรณะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าร่วมการหารือรัฐสภาระหว่างภูมิภาคของ EP และ AIPA (Inaugural EP-AIPA Inter-Regional Parliamentary Dialogue) ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย 

รัฐสภาไทยมีความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป (European Union) หรือ EU ผ่านสภายุโรป (European Parliament) หรือ EP ภายใต้กรอบสมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly) หรือ AIPA ซึ่งเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยรัฐสภาแห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ โดยสภายุโรปมีฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์ของ AIPA ASEAN กับ EU มีความสัมพันธ์ในระดับกลุ่มระหว่างกันมาเป็นเวลานานและ EU ถือเป็นคู่เจรจา (dialogue partner) กับอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ปี 2515 (1972) และได้พัฒนาเป็นคู่เจรจาอย่างเป็นทางการ ในปี 2520 (1977) ปัจจุบันนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง EU และ ASEAN เป็นแบบหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partners)   

ด้านการเมืองและความมั่นคง ปัจจุบัน อาเซียนและ EU มีความร่วมมือด้านความมั่นคงผ่านกรอบ ASEAN Regional Forum (ARF) และ EU ได้แสดงความสนใจที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือกับอาเซียนในการเมืองและความมั่นคง โดยพร้อมที่จะแสดงบทบาทอย่างแข็งขันใน ARF และขยายความร่วมมือในประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ เช่น การบริหารจัดการชายแดน อาชญากรรมข้ามชาติ อาชญากรรมไซเบอร์ การจัดการภัยพิบัติ และความมั่นคงทางทะเล  ในด้านอนาคตทางการค้าและเศรษฐกิจ EU สนใจที่จะเริ่มเจรจา ASEAN-EU FTA อีกครั้ง ในปี 2558 (เมื่ออาเซียนบรรลุการสร้างประชาคมอาเซียนแล้ว) หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายระงับการเจรจาไปเมื่อปี 2552 และ EU ได้หันมาเจรจากับอาเซียนเป็นรายประเทศแทน ซึ่ง EU ถือว่าเป็น building bloc เพื่อนำไปสู่การจัดทำ FTA ในระดับภูมิภาคกับอาเซียนต่อไป ปัจจุบัน EU ได้สรุปการเจรจา FTA กับสิงคโปร์และเวียดนามแล้ว และอยู่ในระหว่างการเจรจากับอินโดนีเซียมาเลเซีย และไทย  ในประเด็นของการรับมือกับโรค COVID-19 EU ได้จัดสรรเงินทุนภายใต้โครงการ “Team Europe” จำนวน 800 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิก ASEANในการรับมือโควิด-19 และบรรเทาผลกระทบในภูมิภาคอาเซียน โดยในส่วนของไทย EU ร่วมมือกับ Oxfam จัดทำโปสเตอร์วิธีป้องกันโรคโควิดเป็นภาษาไทยและภาษายาวีจำนวน 1,000 แผ่น สำหรับ แจกจ่ายแก่ชุมชนเปราะบางในชนบท 400 ชุมชน นอกจากนี้ EU ยังได้จัดสรรทุนจำนวน 20 ล้านยูโร เพื่อ สนับสนุนโครงการ “Southeast Asia Health Pandemic Response and Preparedness” โดยมี WHO เป็นผู้ดำเนินโครงการในภูมิภาค 

ทั้งสองฝ่ายมีการประชุม EU-ASEAN Expert Dialogue on COVID-19 Vaccines ซึ่งจัดมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนและ EU รวมถึงผู้แทนจาก COVAX Facility เข้าร่วม โดยที่ประชุมได้หารือถึงการยกระดับศักยภาพการผลิตวัคซีนและ การฉีดวัคซีน ตลอดจนการส่งเสริมระบบพหุภาคีเพื่อให้การเข้าถึงวัคซีนมีประสิทธิภาพ มีความยุติธรรมและ เท่าเทียม ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ การเพิ่มขีดความสามารถ และการพัฒนาอย่างครอบคลุม นอกจากนี้  EU เป็นกำลังสำคัญที่ได้ส่งออกวัคซีนที่ EU ผลิตกว่าร้อยละ 50 (มากกว่า 200 ล้านโดส) ให้แก่ 45 ประเทศ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึง 3.8 ล้านโดสให้สิงคโปร์ และอีก 2.5 ล้านโดสให้มาเลเซีย โดยอาเซียนจะได้รับวัคซีนกว่า 32 ล้านโดส ผ่าน COVAX facility ภายในปี 2564  EU และ ASEAN ยังมีความร่วมมือผ่านกรอบงบประมาณ Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument (READI) ซึ่งเป็นกลไกด้านนโยบายที่สนับสนุนในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้า อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิทยาศาสตร์สิทธิมนุษยชน การจัดการภัยพิบัติ  

ในช่วงท้ายของการหารือ นางสาวเพชรชมพู กิจบูรณะ ผู้แทนรัฐสภาไทยได้ร่วมอภิปรายในประเด็นการส่งเสริมความร่วมมือในการรับมือโควิด-19 และฟื้นฟูผลกระทบของโควิด-19 โดยเน้นน้ำต่อที่ประชุมว่า EP และ AIPA ควรส่งเสริมความร่วมมือในทุก ๆ ด้านที่มีอยู่แล้วให้พัฒนาแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้เดินไปพร้อม ๆ กันอย่างมีประสิทธิภาพ 

เครดิต : กลุ่มงานสมัชชารัฐสภาอาเซียน สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats