FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะเลขานุการคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 คนที่หนึ่ง รับยื่นหนังสือจากนายฉัตรชัย พุ่มพวง ตัวแทนกลุ่มสหภาพคนทำงาน (WORKERS' UNION) 2565

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะเลขานุการคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 คนที่หนึ่ง รับยื่นหนังสือจากนายฉัตรชัย พุ่มพวง ตัวแทนกลุ่มสหภาพคนทำงาน (WORKERS' UNION) 2565 เรื่อง การพิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อลดภาระความเดือดร้อนของประชาชนและกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของรัฐได้สร้างผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้แรงงานที่เป็นคนส่วนใหญ่ 99 เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นผู้สร้างสรรค์เศรษฐกิจให้กับประเทศไทย แต่ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กลับปรับลดงบประมาณสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือสวัสดิการของแรงงานชัดเจน เช่น งบประมาณสำหรับประกันสังคมลดลง 19,519.824 ล้านบาท คิดเป็น 30.7 เปอร์เซ็นต์และงบประมาณกระทรวงแรงงานลดลง 19,977.4946 ล้านบาท คิดเป็น 28.65 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้น ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2565 ฉบับนี้ จึงไม่ได้มีเป้าหมายในการจัดทำเพื่อให้การช่วยเหลือ ลดภาระความเดือดร้อนของประชาชนและกลุ่มผู้ใช้แรงงานในฐานะสหภาพคนทำงานเห็นว่า รัฐบาลจะต้องพิจารณาปรับลดงบประมาณส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อนำมาเยียวยาแรงานและประชาชน จากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้เพียงพอและครอบคลุมทุกกลุ่มคนทำงานที่อยู่อาศัยภายในประเทศไทย โดยมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
1. ชดเชยรายได้พื้นฐานให้แก่แรงงานทุกคนในประเทศ ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ต่อเนื่องไปจนถึงการยกเลิกมาตรการตาม พ.ร.ก บริหารราชการฉุกเฉิน
2.ชดเชยรายได้ของคนทำงานที่ต้องหยุดทำงานตามมาตรการของรัฐ การปิดกิจการชั่วคราว และเพิ่มการชดเชยการการขาดรายได้จากการเลิกจ้างในช่วงเวลาการระบาดของโควิด-19 รวมถึงคนทำงานสัญชาติไทย คนทำงานที่เป็นแรงงานข้ามชาติ และคนทำงานที่ไร้สัญชาติ
3.ชดเชยรายได้สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 กรณีที่นายจ้างสั่งหยุดงานชั่วคราวโดยมิใช่เหตุสุดวิสัย แต่เป็นเหตุอื่น ตามมาตรา 75 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 100% ของค่านั้น โดยให้รัฐจ่ายเงินส่วนต่างให้แก่ลูกจ้างอีก 25%
4.ชดเชยเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40 โดยรัฐจ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้ประกันตน 100% เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน
5.ชดเชยเงินสมทบในกลุ่มแรงงานภาคเกษตร กลุ่มคนทำงานอิสระ กลุ่มคนทำงานกลางคืน และกลุ่มอื่นที่ยังไม่ได้อยู่ในประกันสังคมให้เข้าสู่หลักประกันสังคม ตามมาตรา 39 และ 40 เพื่อดึงแรงงานกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบประกันสังคมให้หมด
6.ชดเชยเงินสมทบให้กับกลุ่มแรงงานในธุรกิจส่งอาหาร ส่งพัสดุ พนักงานทำความสะอาด พนักงานนวด ฯลฯ ในธุรกิจแพลตฟอร์ม (platform business) และที่ถูกเรียกอย่างผิดๆ ว่า "พาร์ทเนอร์" ให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ที่นายจ้างในภาคธุรกิจแพลตฟอร์มต้องร่วมจ่ายเงินสมทบในฐานะนายจ้าง
7.ชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขอใบอนุญาต หรือดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน วีซ่า การตรวจสุขภาพและค่าธรรมเนียมอื่นของ แรงงานข้ามชาติ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19
8.ชดเชยการพักหนี้กองทุนเพื่อการศึกษา (กยศ.) ให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา และ
คนทำงานที่เป็นหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
9.ชดเชยการพักหนี้ให้กับประชาชน อย่างน้อย 1 ปี เช่น หนี้สินส่วนบุคคล บ้าน รถ หนี้ธนาคารและหนี้สิน
10.ชดเชยค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก และการศึกษาของเด็กในครัวเรือนแบบถ้วนหน้า และมีมาตรการพิเศษสำหรับบิดา มารดา ที่ต้องเลี้ยงดูบุตร หรือผู้สูงอายุ แต่เพียงลำพัง
11.ชดเชยและควบคุมราคาสินค้าที่กระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ราคาเพิ่มสูงมากขึ้นในปัจจุบัน

ทั้งนี้ กลุ่มสหภาพคนทำงานได้ตระหนักว่ามาตรการชดเชยและช่วยเหลือคนทำงานที่ได้รับผลกระทบในวิกฤตินี้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และการกู้เงินเป็นการผลักภาระไปให้ลูกหลานในอนาคตที่ต้องเป็นหนี้โดยที่ยังไม่ได้ลืมตามาดูโลก จึงเสนอให้พิจารณาและดำเนินการอย่างจริงจังในการจัดเก็บ ภาษีความมั่นคั่งจากบุคคลที่มีเงินฝาก เงินลงทุนและอสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณประเทศ ลดภาระค่าใช้จ่ายช่วยเหลือประชาชนและคนทำงาน 99 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อให้ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดย นายอรรถกร ศิริลัทธยากร กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า จะขอรับเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมของคณะ กมธ.เพื่อพิจารณา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณางบประมาณในส่วนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคาดว่างบประมาณในส่วนของกระทรวงแรงงานจะเริ่มพิจารณาได้ในเร็ว ๆ นี้ พร้อมทั้งขอยืนยันว่า ข้อเรียกร้องจากกลุ่มสหภาพคนทำงานทุกข้อเรียกร้อง จะถูกนำเข้าสู่การพิจารณาหารือในที่ประชุมอย่างแน่นอน
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats