วันจันทร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ให้เกียรติ เป็นประธานเปิด การสัมมนาเรื่อง ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย โดยมีใจความว่าในปัจจุบัน ปัญหาทางด้านมลภาวะทางอากาศ เช่น ฝุ่น PM 2.5 สภาวะก๊าซเรือนกระจก ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เสื่อมโทรมลง
รวมทั้ง ความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน อันเนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดความต้องการการใช้พลังงานที่สะอาด ปลอดภัย ประหยัดและมีประสิทธิภาพที่มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา ทำให้เกิด การพัฒนาการทางเทคโนโลยีพลังงาน ซึ่งปัจจุบันก้าวหน้าไปอย่างมาก และได้มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้งานในชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังเห็นได้ จากบ้านเรือนสมัยนี้มีการติดตั้งแผงพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดดหรือโซลาร์เซลล์ มากขึ้นเรื่อย ๆ และราคาก็ถูกลงกว่าเดิมมาก สำหรับการสัมมนาวันนี้ คือ เรื่อง ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึง ยานยนต์ไฟฟ้าในฐานะที่เป็นทางเลือกที่จะเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของมากขึ้น จนจะทดแทนยานยนต์ที่ใช้น้ำมันได้ทั้งหมดในอนาคตอันใกล้ เพราะเทคโนโลยี ด้านแบตเตอรี่ และมอเตอร์ก้าวหน้าไปรวดเร็วมาก ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าจะช่วยตอบโจทย์ ของประเทศในเรื่องการไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทั้งทางอากาศและทางเสียง การดูแลรักษา ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ การชาร์จไฟฟ้าเองได้ที่บ้าน การนำมาแปรรูปหรือ recycle ใหม่
ได้เกือบทั้งคันเมื่อพูดถึง ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ทราบหรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางการผลิตรถรายใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (อาเซียน) และเป็นอันดับที่ ๑๑ ของโลก ดังนั้น แนวโน้มการเติบโตของ รถยนต์ไฟฟ้า (EVs) ในตลาดยานยนต์โลก จึงมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของ ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา Bloomberg New Energy Finance (BNEF) ได้มีการเปิดเผยรายงานการวิจัย เรื่อง แนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้าประจำปี ๒๐๑๙
ซึ่งวิเคราะห์จากสถานการณ์ของอุตสาหกรรมรถยนต์ประเภทต่าง ๆ รวมถึงปัจจัย ของตลาดโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงโดย จัสติน วู หัวหน้าด้าน BNEF ประจำเอเชีย- แปซิฟิก ได้ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ตลาดรถยนต์ทั่วโลกกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EVs) อย่างเป็นทางการ ซึ่งนั่นหมายความว่า ประเทศไทย ต้องหันมาจริงจังกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น โดยภาครัฐจะต้องมีการสนับสนุน อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ทันต่อกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นผู้นำในด้านรถยนต์ไฟฟ้า ในภูมิภาคได้ในสภาวะโลกยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทิศทางความต้องการรถยนต์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะยานยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ ในทุกภูมิภาคทั่วโลก จึงนำมาสู่ความพยายามของภาครัฐในการดึงดูดการลงทุนผลิตรถพลังงานไฟฟ้า โดยในช่วงต้นปี ๒๕๖๐ รัฐบาลได้ประกาศมาตรการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้า หรือ ไฮบริด(Hybrid Electric Vehicle: HEV) รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (Plug-In Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) โดยให้ส่งเสริมการผลิตทั้งรถยนต์นั่ง รถกระบะ และรถโดยสาร รวมไปถึงชิ้นส่วน รถยนต์ไฟฟ้า และสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าออกมา ซึ่งคาดว่าน่าจะส่งผล ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตรถพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการเข้ามาลงทุนของเครือข่าย ชิ้นส่วนที่มีระดับเทคโนโลยีสูงขึ้น เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ลักษณะดังกล่าว
ดังนั้น ตนเห็นว่า การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคตจะต้อง
เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งกระแสโลกจะกดดันให้ต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนโยบายเรื่องรถยนต์ไฟฟ้านั้น เป็นนโยบายที่รัฐบาล
ได้ให้ความสำคัญในลำดับต้น ๆ โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าภายใน ประเทศ ผ่านนโยบายการขอสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้า ให้แก่ผู้ผลิต ทั้งการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรการนำเข้าพวกชิ้นส่วน ยานยนต์และอุปกรณ์ โดยต้องยื่นความประสงค์เข้ารับมาตรการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
รวมทั้ง ยังมีมาตรการในการลดภาษีสรรพสามิต ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
ได้ในราคาที่ถูกลง โดยภาครัฐมีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด
ปลั๊กอินและรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่รวมทั้งสิ้น๑.๒ ล้านคัน ในปี พ.ศ. ๒๕๗๙ โดยการส่งเสริมให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม การผลิตรถยนต์และอุตสาหกรรมการผลิตต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ขอให้คณะกมธ.ได้เร่งจัดทำรายงานในเรื่องนี้เพื่อเสนอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาโดยเร็ว เพื่อที่จะสามารถขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศให้เกิด เป็นรูปธรรมต่อไป โดยมีนายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ปรึกษาคณะ กมธ.การพลังงาน
กล่าวรายงานสำหรับโครงการสัมมนาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย แนวทาง และการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
ในประเทศไทยรวมทั้งให้บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ
นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการหาแนวทาง
ในการเตรียมความพร้อมและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
ในประเทศไทยตลอดจนเพื่อสร้างความตระหนักและประชาสัมพันธ์แนวทาง
ในการลดปัญหาฝุ่นละอองPM ๒.๕ ด้วยการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการการพลังงานสภาผู้แทนราษฎร |