|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2563
|
วันจันทร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
รับยื่นหนังสือจาก นายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานที่ปรึกษาสหพันธ์
การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย และนายสุวิทย์ รัตนจินดา
ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย เพื่อขอคัดค้านการเข้าร่วม เป็นสมาชิกกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกของรัฐบาล (CPTPP) สืบเนื่องจากรัฐบาลมีแนวนโยบายที่ต้องการให้ประเทศ ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP ซึ่งในส่วนการเปิดเสรีการค้าบริการและ การลงทุนใน CPTPP ได้กำหนดให้สมาชิกเปิดเสรีในระดับสูง เพื่อให้สิทธิต่อ ผู้ให้บริการต่างชาติเข้ามาถือหุ้นข้างมากในนิติบุคคลในประเทศสมาชิก ตลอดจนการให้สิทธิเข้ามาซื้อกิจการอย่างเสรีและให้สิทธิจัดตั้งกิจการแข่งขัน กับ SMEs ในประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี
ทั้งนี้ สมาพันธ์ฯ ได้ศึกษาถึงผลกระทบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พบว่า CPTPP
จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจการขนส่งทางบก ธุรกิจโลจิสติกส์ และความมั่นคงของประเทศไทยดังนั้น จึงมีความเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้ ๑. การเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลง CPTPP ของไทย ยังไม่มีความจำเป็น เร่งด่วนในขณะนี้ โดยควรให้ประเทศไทยมีการพัฒนาจนกว่ามีระบบ เศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน ๒. กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดใน CPTPP ยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายไทย ต้องใช้เวลาในการปรับสมดุลและความพร้อมด้านต่าง ๆ มากกว่านี้ รวมทั้งหน่วยงานรัฐควรทำความเข้าใจกับภาคเอกชนให้ครอบคลุมกว่า ที่เคยปฏิบัติมา โดยให้มีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมในทุกมิติ ๓. ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยจัดตั้งสภาการขนส่งทางถนน แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้แทนขององค์กรเอกชน เพื่อให้การช่วยเหลือ ผู้ประกอบการไทยในทุกกรณี อาทิ การแก้ไขปัญหาและการเยียวยา การสนับสนุนรัฐในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยและครอบคลุมรอบด้าน ๔. จัดให้มีกฎหมายรองรับในการสนับสนุนส่งเสริมและการพัฒนาที่ครอบคลุม ทุกกระบวนการของภาคธุรกิจโลจิสติกส์ อาทิ ปรับปรุง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนา ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ พ.ศ. .... ๕. จัดหามาตรการด้านการเงินเพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการและ สร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการไทย ได้แก่ ๑) จัดสรรเงินกู้ หรือจัดตั้งกองทุนให้ผู้ประกอบการเพื่อลดต้นทุนสำหรับ ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ๒) ลดอัตราการเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ๓) ลดค่าธรรมเนียมและค่าบริการกับธนาคารพาณิชย์ ๖. ผ่อนผันกฎระเบียบผู้นำเข้าและผู้ส่งออกให้กับกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับ Supply chain ระหว่างประเทศ อาทิ ค่าระวาง ค่าสินค้าและบริการ ภายในประเทศ ฯลฯ ๗. รัฐบาลควรสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ด้านโลจิสติกส์ ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายทางธุรกิจ และพัฒนาบุคลากร ให้เป็นมาตรฐานด้านนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งต่อให้กับ คณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลง ที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เพื่อศึกษาและพิจารณาต่อไป |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|