วันพุธที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นายเกตุชาติ เกษา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประธานรัฐสภา และ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ เลขานุการคณะทำงานทางการเมืองของประธาน สภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจากนายพิทักษ์ โยธา ตัวแทนเครือข่ายผู้ประกอบ การร้านนวดเพื่อสุขภาพขนาดกลางและขนาดเล็กทั่วประเทศ กว่า ๕,๐๐๐ ร้าน และพนักงานนวด เพื่อสุขภาพกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คน จากสมาคมและตัวแทนเจ้าของ กิจการนวดเพื่อสุขภาพจากภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดทำนโยบายฟื้นฟูกิจการนวดไทยและสปาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากธุรกิจนวดและสปาเพื่อสุขภาพของไทย ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มี ความสำคัญและขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ อีกทั้งยังสร้างอาชีพให้บุคคลทั่วไป มีรายได้ ในขณะเดียวกันยังก่อให้เกิดรายได้ต่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ และธุรกิจนวด แผนไทยนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยรายการที่ ๒ ที่ได้ขึ้นบัญชีมรดก ทางวัฒนธรรมต่อจากโขน จากกรณีร้านนวดเพื่อสุขภาพเป็นกิจการที่ถูกสั่งปิด ในช่วงที่โควิด-๑๙ ยังแพร่ระบาดหนักในช่วงเริ่มต้น และมีคำสั่งจากพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ๒๕๔๘ มีผลให้กิจการนวดเพื่อสุขภาพ ต้องปิดสถานบริการกว่าเกือบ ๓ เดือน ส่งผลกระทบต่อกิจการนวดเพื่อสุขภาพและสปา ทั้งในแง่ของรายได้ของกิจการ แรงงานความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และในส่วนสำคัญ คือ เงินทุนหมุนเวียนหลายกิจการล้มละลายเนื่องจากภาวะหนี้สินจากภาระค่าเช่าที่ การขาดกระแสเงินสดในการดำเนินงาน ซึ่งหากไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน อาจส่งผลให้เกิดการล้มละลายกระทบกันทุกภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องตัวแทนกลุ่ม ผู้ประกอบการ จึงขอความอนุเคราะห์ให้มีการพิจารณาเร่งด่วนในการฟื้นฟูกิจการที่ทำ ชื่อเสียงในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมดังนี้
ส่วนที่ ๑ ด้านเงินทุนหมุนเวียน ๑) ลดเงื่อนไขโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เนื่องจากในทางปฏิบัติ การเข้าถึงวงเงินกู้ ดังกล่าวยังไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากมีผู้ประกอบการจำนวนมาก ยังไม่ผ่านการ พิจารณาเงื่อนไขคุณสมบัติเบื้องต้น ทั้งที่มีความเดือดร้อนจริง ด้วยเหตุผลที่ขาดสภาพ คล่องทางการเงิน จึงขอเสนอให้มีการลดเงื่อนไขการพิจารณาผู้มีสิทธิเข้าถึงแหล่งเงินกู้ โดยสามารถใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ เป็นหลักฐาน ประกอบการพิจารณา ๒) เงินสนับสนุนในการฟื้นฟูกิจการ จากสภาวะดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจจำนวนมากล้มละลาย เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียนในกิจการนานเกินไป และภายหลังผ่อนปรนผู้ประกอบการ ต้องใช้เงินทุนในการจัดร้านให้ถูกระเบียบรวมถึงชำระหนี้ที่เกิดจากการที่กิจการถูกสั่งปิด จึงขอความอนุเคราะห์ในการพิจารณางบประมาณในการฟื้นฟูกิจการสำหรับผู้ประกอบการ ที่พร้อมดำเนินการต่อ
ส่วนที่ ๒ ด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ธุรกิจ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-๑๙ ได้ส่งผลในระยะยาวในส่วนของภาคธุรกิจท่องเที่ยว กำลังซื้อของผู้บริโภค และ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระดับชุมชน ซึ่งส่งผลในระยะยาวต่อธุรกิจนวดเพื่อสุขภาพและ สปาทั่วประเทศ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง และสภาพเศรษฐกิจที่เป็นปัญหาในทุกภาคส่วน ผู้บริโภคภายในประเทศขาดกำลังซื้อ ผู้บริโภคจากต่างประเทศลดลงในระยะยาว จึงขอนำเสนอ ให้มีโครงการพัฒนาการตลาดสำหรับผู้ประกอบการร้านนวดเพื่อสุขภาพขนาดเล็ก ดังนี้ ๑) จัดทำฐานข้อมูลเพื่อผลักดันการเข้ารวมโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการตลาด มีการจัดทำ Guide Book เพื่อประชาสัมพันธ์ส่งให้กับผู้ใช้งานทุกภาคส่วน ได้เข้าถึงข้อมูลร้าน นวดสปา ขนาดเล็ก ซึ่งผู้ประกอบการอาจไม่มีศักยภาพในการเข้าถึงสื่อออนไลน์หรือเข้าถึง งบประมาณการตลาดที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ ๒) จัดทำนโยบายผลักดันด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจบริการ นวดเพื่อสุขภาพและส่งเสริมให้นวดไทย ซึ่งเป็นมรดกโลกได้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่ควรได้รับ การยกเว้นสำหรับคนไทย ๓) จัดทำนโยบายกระตุ้นกำลังซื้อในกลุ่มผู้บริโภคคนไทยหรือลูกค้าในระดับองค์กร เสนอให้ ผู้ที่ใช้บริการด้านนวดไทย สามารถนำใบเสร็จมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ ๒ เท่า จึงเรียนมา เพื่อขอความอนุเคราะห์ เพื่อให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ความช่วยเหลือตามแนวทาง ข้างต้นต่อไป เพื่อฟื้นฟูกิจการนวดไทยและสปา ทั้งนี้ นายแทนคุณ กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป |