FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ รับยื่นหนังสือจาก รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้แทนเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้อง ไม่พร้อม และเครือข่ายภาคประชาสังคมรวม ๔๐ องค์กร เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการทำแท้ง เป็นเวลากว่า ๖๐ ปีแล้ว

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 10 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2563

        วันพุธที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๑๕ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ 
อาคารรัฐสภา  นางมุกดา พงษ์สมบัติ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน 
สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ รับยื่นหนังสือ
จาก รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้แทนเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้อง
ไม่พร้อม และเครือข่ายภาคประชาสังคมรวม ๔๐  องค์กร  เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหา
การทำแท้ง  เป็นเวลากว่า ๖๐ ปีแล้ว ที่ประเทศไทยได้บังคับใช้ประมวลกฎหมาย
อาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งมาตรา ๓๐๑-๓๐๕ โดยกำหนดบทลงโทษทางอาญา
ต่อผู้หญิงที่ทำแท้งไว้ในมาตรา ๓๐๑ และมีข้อยกเว้นบทลงโทษผู้กระทำการให้
ผู้หญิงแท้งในกรณีของแพทย์ รวมถึงเงื่อนไขความจำเป็นบางประการในกรณีที่จำเป็น
ต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของผู้หญิง หรือหญิงมีครรภ์จากการกระทำความผิดอาญา 
ในทางปฏิบัติพบว่า มีคดีที่กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐๑ ขึ้นสู่ศาลน้อยมาก เนื่องจาก
การทำแท้ง มีลักษณะเป็นอาชญากรรมที่ปราศจากเจ้าทุกข์ หรือ เป็นการกระทำความผิด
ที่ไม่มีผู้เสียหาย กล่าวคือเป็นการกระทำที่ผู้กระทำยินยอมให้ผลของการกระทำนั้น
เกิดกับตัวผู้กระทำเอง โดยที่กฎหมายบัญญัติให้การกระทำนั้นเป็นความผิดไว้ หรือ
อาจกล่าวได้ว่าเป็นการกระทำที่ผู้กระทำเป็นทั้งอาชญากรและเป็นเหยื่อไปพร้อม ๆ กัน 
จึงเป็นการยากที่จะพิจารณาถึงผู้เสียหายได้โดยชัดเจนเพราะเป็นเรื่องของความยินยอม 
ซึ่งทำให้ยากแก่การจับกุมและปราบปรามเพราะทั้งผู้ให้บริการทำแท้งและตัวหญิง
ที่ยินยอมให้ทำแท้งจะไม่มีฝ่ายใดดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ จากข้อมูลการเฝ้าระวัง
การทำแท้งของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้หญิงที่ตัดสินใจทำแท้งจำนวน
ร้อยละ ๖๐ ทำแท้งด้วยเหตุผลทางสังคม และเศรษฐกิจ ในขณะที่ร้อยละ ๔๐ ทำแท้ง
ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพร่างกาย แสดงให้เห็นว่ากฎหมายที่บังคับใช้ ในมาตรา ๓๐๕ 
ที่ยกเว้นการลงโทษในกรณีที่แพทย์ยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ
ร่างกาย และการตั้งครรภ์จากการกระทำความผิดทางอาญาไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหา
สถานการณ์ความเป็นจริงในปัจจุบัน
       ขณะเดียวกันเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันได้พัฒนาก้าวหน้ามากสามารถให้
บริการดูแลรักษารองรับการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ ได้อย่างปลอดภัย จึงอยากให้ปรับปรุง
แก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดยนางมุกดา พงษ์สมบัติ กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ยินดีที่จะนำ
เสนอข้อมูลดังกล่าว เพื่อที่จะศึกษาและนำไปสู่การแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ
ประชาชน


download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats