สคบ. กับการรับมือปัญหาสายการบินโลว์คอสต์
Source - ไทยโพสต์ (Th)

Friday, May 19, 2017  07:18
32428 XTHAI XGEN IKEY V%PAPERL P%TPD

          ธุรกิจสายการบินโลว์คอสต์ นับวันจะมีแต่ผู้สนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ผู้ประกอบธุรกิจสายการบินและตัวแทนขายตั๋วโดยสารต่างหากลยุทธ์เพื่อดึงดูดลูกค้า มีการใช้วิธีการขายหรือโฆษณาผ่านทางช่องทางต่างๆ เพื่อจูงใจผู้บริโภคให้เกิดความสนใจ และแน่นอนว่ หลายครั้งที่กลยุทธ์เหล่านี้ มีการล้ำเส้นไปสู่การเอาเปรียบ
          สคบ.ได้ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "การกระทำดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบเพราะผู้บริโภคไม่อยู่ในฐานะที่จะทราบความจริงที่เกี่ยวกับการใช้บริการค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงสิทธิประโยชน์กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจผิดข้อตกลงได้อย่างถูกต้องทันท่วงที"
          ปัญหาการใช้บริการของสายการบินโลว์คอสต์
          - สายการบินเลื่อนเวลาเดินทางหรือยกเลิกเที่ยวบินโดยไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งกระชั้นชิด
          - กรณีจองตั๋วโดยสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมีการคิดค่าบริการซ้ำซ้อนเนื่องจากระบบ ERROR
          - ไม่สามารถยกเลิกการเดินทางหรือเปลี่ยนชื่อผู้เดินทางได้
          - สายการบินคิดค่าใช้จ่ายในการขอเปลี่ยนเส้นทาง หรือขอเลื่อนการเดินทางสูงกว่าราคาตั๋วโดยสาร
          - กระเป๋าเดินทางชำรุด หรือสูญหาย หรือทรัพย์สินภายในกระเป๋าสูญหาย
          - การโฆษณาจัดโปรโมชั่นลดราคา โดยไม่แจ้งเงื่อนไขที่ชัดเจน เช่น จำนวนที่นั่ง ราคาค่าใช้จ่ายอื่นๆ
          * กรณีเครื่องบินดีเลย์ หรือยกเลิกเที่ยวบินใครรับผิดชอบ และเรียกร้องได้อย่างไรบ้าง
          กรณีสายการบินโลว์คอสต์ยกเลิกเที่ยวบินจะมีประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ พ.ศ.2553
          - เที่ยวบินล่าช้า
          1) ล่าช้าเกินกว่า 2 ชม. แต่ไม่เกิน 3 ชม.
          2) ล่าช้าเกินกว่า 3 ชม. แต่ไม่เกิน 5 ชม.
          3) ล่าช้าเกินกว่า 5 ชม. แต่ไม่เกิน 6 ชม.
          4) ล่าช้าเกินกว่า 6 ชม.
          - การยกเลิกเที่ยวบิน หรือปฏิเสธการขนส่งระหว่างประเทศ จะมีพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ.2558 กำหนดไว้ในมาตรา 12 และมาตรา 15 ทั้งนี้ ต้องดูถึงสาเหตุของความล่าช้าด้วยว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น สภาพอากาศ ปัญหาด้านความปลอดภัย หรือปัญหาการจัดการหรือความไม่พร้อมของสายการบิน และหากผู้บริโภคได้รับความเสียหายเกินกว่าที่มาตรการตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทย ในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ พ.ศ.2553 ผู้บริโภคสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนพร้อมเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าเสียหายได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
          * สคบ.ดำเนินการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างไร
          โดยปกติ สคบ.จะมีการตรวจสอบโฆษณาของสายการบิน ไม่ใช้ข้อความโฆษณาที่เป็นเท็จหรือเกิน/ข้อความโฆษณาที่ก่อให้เกิดความเข้าในผิดในสาระสำคัญของบริการ เป็นต้น หรือถ้าในกรณีที่มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคเข้ามา ก็จะดำเนินการช่วยเหลือและแก้ไขผู้บริโภคในกรณีที่เกิดปัญหา โดยเริ่มจากการเจรจาไกล่เกลี่ยในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้ายังตกลงไม่ได้จะส่งเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการไกล่เกลียเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ถ้ายังตกลงกันไม่ได้อีกจะนำเรื่องเข้าสู่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องร้องทุกข์เพื่อพิจารณาอีกขั้น หรือเสนอเรื่องให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีมติดำเนินคดีแพ่งแทนผู้บริโภคเพื่อบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหาย
          นอกจากนี้มาตรการเพื่อการป้องปรามคือ การหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ การรณณรงค์ร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในช่วงเทศกาลต่างๆ เพื่อป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และรวบรวมประเด็นปัญหาจากเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการของสายการบินและตัวแทนจำหน่ายตั๋วโดยสารและได้มีการจัดประชุมสัมมนาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยเป็นการหารือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวขอ้งเพื่อทำความเข้าใจและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์