|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ |
นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. รับยื่นหนังสือจากตัวแทนเครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2559
|
วันที่ ๒๓ ส.ค.๕๙ เวลา ๑๐.๔๐ น. ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. รับยื่นหนังสือจากตัวแทนเครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ เรื่องการผ่านร่าง รธน.ฉบับที่ผ่านประชามติ มีเจตนาละเมิดกฎหมาย โดยได้ระบุถึงมาตรา ๑๗๘ ของร่าง รธน.แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา และหนังสือสัญญาอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หากรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ ซึ่งการผ่าน รธน.มาตรา ๑๗๘ ถือเป็นการเจตนาตระเตรียม และมีเจตนาทำให้ประเทศไทยสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน อาณาเขตประเทศไทย และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งสัญญาอื่น ๆ กับต่างชาติภายใน ๖๐ วัน หลังจากนั้นต้องยอมรับสัญญาของนายทุนต่างชาติ อันเข้าข่ายละเมิดกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๕๗ หรือไม่รวมทั้งในมาตรา ๑๓๖ ๑๓๗ และ ๑๓๘ เป็นการตัดอำนาจสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือไม่ ในการนี้ จึงขอเรียกร้องให้พิจารณาหาทางออก และป้องกันที่จะไม่สร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง หรือจะแจ้งไปยังรัฐบาลให้ใช้มาตรา ๔๔ ของ รธน.ชั่วคราว เพื่อยกเลิก หรือแก้ไขบางมาตรา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและหลักนิติธรรม หรือจะมีเจตนาทำให้ประเทศชาติสูญเสียความมั่นคง และดินแดน หรือทรัพยากร และละเมิดต่อกฎหมายหรือไม่ |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถ.ประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2244 2500 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 5 ต.ค. 58) |
|
|
|