|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ |
โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญรับยื่นหนังสือจากตัวแทนคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 18 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2559
|
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา ณ หน้าห้องงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓ นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ รับยื่นหนังสือจากนายบุญเลิศ น้อมศิลป์ ประธานอนุกรรมการเพื่อศึกษาการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจในส่วนที่เกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจ และการจัดบริการสาธารณะ อปท. การถ่ายโอนงบประมาณ และการบริหารการเงิน การคลัง ของ อปท. และการถ่ายโอนบุคลากร ตลอดจนการบริหารบุคคลของอปท. ดังนั้น จึงมีความ จำเป็นที่จะต้องมีการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป เนื่องจากการกระจายอำนาจมีผลดีประกอบด้วย
๑. ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกรุงเทพมหานคร หัวเมือง และชนบท โดยจะทำให้เกิดการกระจายรายได้และลดความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท
๒. แบ่งเบาภาระของรัฐบาล โดยการกระจายอำนาจ หน้าที่ และทรัพยากรทางการบริหารลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ทำหน้าที่จัดบริการสาธารณะเพื่อบริการประชาชนในท้องถิ่น ทำให้รัฐบาลมีเวลาไปดูแลเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ด้านการเงินการคลัง ของประเทศ งานความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน งานการต่างประเทศ เป็นต้น
๓. ทำให้ปัญหาแต่ละท้องถิ่นได้รับการแก้ไขปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้รับการแก้ไขปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้น โดยผู้บริหารท้องถิ่นจะมีความรู้และความเข้าใจในสภาพปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๔. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีบทบาทในการดูและพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในด้านการทำงาน การบริหารงานและตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๕. เป็นการสร้างผู้นำในระดับท้องถิ่น เพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้นำระดับชาติ
๖. เสริมสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและประเทศ เพราะปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข สังคมมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถ.ประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2244 2500 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 5 ต.ค. 58) |
|
|
|