กลับหน้าหลัก หน้าหลัก
English
   
Untitled Document
  ค้นหา :
   เมนูหลัก
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤษภาคม 2568 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด


  • กิจกรรมรัฐสภาสัญจร ปี 2557    download_icon

  • เสวนาการประกวดวรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • กีฬา "ภาคีนิติสัมพันธ์ ครั้งที่ 12"    download_icon

  • สำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด    download_icon

  • เพลง "กษัตริย์แห่งประชาธิปไตย"    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า

สภาผู้แทนราษฎรในอดีต >> บทบาท อำนาจหน้าที่ โครงสร้าง
[ บทบาทภายในสภา ] [ บทบาทภายนอกสภาผู้แทนราษฎร ] [ บทบาทด้านต่างประเทศ ] [ อำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ]
บทบาทภายในสภา
 
๑. อำนาจในการตรากฎหมาย
          ๑.๑ การตราพระราชบัญญัติ คือ กระบวนการหรือขั้นตอนในการเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย

                    ๑.๑.๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                              ก. ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                                        - คณะรัฐมนตรี
                                        - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๑๐ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๑๐ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
                                        - ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
                              ข. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                                        ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อน จากนั้นจึงให้วุฒิสภาพิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อไป เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หากเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อความไม่ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป แต่ถ้ามีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป ในกรณีที่วินิจฉัยว่าข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นั้นเป็นอันตกไป
                    ๑.๑.๒ พระราชบัญญัติ
                              ก. ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
                                        - คณะรัฐมนตรี
                                        - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน โดยไม่ต้องให้พรรคการเมือง ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นสังกัดมีมติให้เสนอได้
                                        - ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ
                                        - ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ คน
                              ข. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
                                        ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อน จากนั้นจึงให้วุฒิสภาพิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อไป เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

          ๑.๒ การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดคือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นให้ใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี หลังจากใช้บังคับแล้วให้นำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติต่อไป

          ๑.๓ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
                    ๑.๓.๑ ผู้มีสิทธิเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม
                              - คณะรัฐมนตรี
                              - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
                              - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
                              - ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
                    ๑.๓.๒ การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยพิจารณาเป็น ๓ วาระ คือ
                              วาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
                              วาระที่ ๒ ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา โดยให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เมื่อการพิจารณาวาระที่ ๒ เสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้ ๑๕ วัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่ ๓ ต่อไป
                              วาระที่ ๓ ขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
                    เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับต่อไป
 
๒. อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
          ๒.๑ การตั้งกระทู้ถาม
                    การตั้งกระทู้ถาม คือ คำถามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาตั้งถาม รัฐมนตรีในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเพื่อชี้แจงหรือตอบกระทู้ถามในเรื่องนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจเข้าชี้แจงหรือตอบกระทู้ได้ ต้องแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาทราบก่อนหรือในวันประชุมสภาในเรื่องดังกล่าว

          ๒.๒ การเสนอญัตติ
                    ญัตติ คือ ข้อเสนอใด ๆ ที่มีความมุ่งหมายเพื่อให้สภาลงมติหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ปฏิบัติอย่างไร
                    ๒.๒.๑ การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
                              สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายก รัฐมนตรี
                    ๒.๒.๒ การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็น รายบุคคล
                              สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฏร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
                    ๒.๒.๓ การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ในกรณีมีจำนวนไม่ถึงเกณฑ์ตาม ๒.๒.๑ หรือ ๒.๒.๒
                              กรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสังกัดพรรคที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีมีจำนวนไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสนอตาม ๒.๒.๑ หรือ ๒.๒.๒ ได้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลได้ เมื่อคณะรัฐมนตรีบริหารงานมาแล้วเกินกว่า ๒ ปี
                    ๒.๒.๔ ญัตติตั้งคณะกรรมาธิการ
                              คณะกรรมาธิการ คือ บุคคลที่สภาแต่งตั้งขึ้นประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อให้พิจารณากฏหมาย หรือกระทำกิจการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาแล้วรายงานต่อสภา
                    สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญและมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา

๓. สิทธิเข้าชื่อเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร สมาชิกวุฒิสภา ฯลฯ ออกจากตำแหน่งได้

๔. อำนาจในการควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๑๐ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่ รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี เพื่อส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย

๕. อำนาจในการให้ความเห็นชอบ
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาสามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบในเรื่องดังต่อไปนี้ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ คือ
          ๑. การให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ
          ๒. การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
          ๓. การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลา ๑๒๐ วัน
          ๔. การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
          ๕. การให้ความเห็นชอบในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ
                              ฯลฯ

ร้องเรียน / ร้องทุกข์ ห้องข่าว หนังสือและสื่อเผยแพร่ รัฐสภาเพื่อสังคม รัฐสภาไทยกับการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน 2558
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย สำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด ผู้ตรวจราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนฯ ติดตามข่าวสอบบรรจุเป็นข้าราชการ ติดต่อรัฐสภา
บันทึกบทความร้อยเรียงความประทับใจ รางวัลพานแว่นฟ้าแห่งรัฐสภาไทย
บริการกฎหมายสภาผู้แทนราษฎร เวทีสภา ข้อมูลการปฏิบัติงานตามคู่มือมาตรฐานงานด้านวิชาการของสำนักกรรมาธิการ
ชมรมกีฬายิงปืนข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ระบบข้อมูลด้านต่างประเทศ ของที่ระลึกจากรัฐสภา พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ
งานประชุมนานาชาติของราชบัณฑิตยสถาน โครงการสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา โครงการปลูกพืชให้ช้าง สร้างอาหารให้สัตว์ป่า เฉลิมพระเกียรติ
ติดต่อรัฐสภา การแข่งขันตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับรัฐสภา ความรู้ เรื่อง คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการฯ ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน บัญชีรายชื่อผู้แทนองค์กรเอกชน
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา
ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน เกาะติดภารกิจประธานรัฐสภา Web Mail สโมสรรัฐสภา ร้องเรียน / ร้องทุกข์
การแข่งขันตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับรัฐสภา รางวัลพานแว่นฟ้าแห่งรัฐสภาไทย ความรู้ เรื่อง คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการฯ โฆษกสาร
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา