|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤษภาคม 2568 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า |
|
บทบาทภายนอกสภาผู้แทนราษฎร |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสร้างบทบาทในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประชาชน วิธีการนั้นคือการพบปะเยี่ยมเยือนประชาชนในพื้นที่ ซงการพบปะเยี่ยมเยือนประชาชนนี้มีนัยสำคัญ ๓ ประการคือ ๑. เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญและการเอาใจใส่ทุกข์สุขของประชาชน ๒. เป็นโอกาสที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะได้พบปะและรับฟังปัญหาโดยตรงจากประชาชนเพื่อนำปัญหานั้นไปแก้ไขโดยเร็วที่สุด ๓. ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับข้อมูลโดยตรงจากประชาชน เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของรัฐบาล และเพื่อเสนอแนะการตรากฎหมายต่าง ๆ ในรัฐสภาต่อไป
เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับข้อมูลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนแล้ว วิธีดำเนินการต่อไป คือ ๑. ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีที่รับผิดชอบต่อปัญหานั้น เพื่อแจ้งให้ทราบถึงปัญหาและให้ดำเนินการแก้ไข ๒. พาราษฎรที่เดือดร้อนไปพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ๓. ให้ความช่วยเหลือตามกำลังความสามารถและความพร้อมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเอง ๔. รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน และนำเรื่องดังกล่าวทำเป็นหนังสือเสนอต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่อไป ๕. นำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณา
|
|
|
|
|