|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ |
ประธานสปท. และรองประธานสปท. พบปะสื่อมวลชนประจำรัฐสภา (meet the press)
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 16 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558
|
วันศุกร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๙.๓๕ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข ๓๗๐๑ ชั้น ๗ อาคารรัฐสภา ๓ ร้อยเอกทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่หนึ่ง และนางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่สอง ร่วมพบปะสื่อมวลชนประจำรัฐสภา โดยประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศได้กล่าวว่า สื่อมวลชนมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก เพราะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาให้แก่สังคมและเป็นผู้นำความคิดทางสังคมในการปลูกฝังจิตใจของคนไทย รวมทั้งเป็นผู้รับใช้ประเทศชาติ รับใช้สังคมและทุกคนในประเทศมีหน้าที่รับใช้ชาติเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อประเทศ ทั้งด้านการตรวจสอบ เสนอแนะ และชี้ให้เห็นปัญหาของสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยแก้ไขปัญหาของสังคมด้วย ดังนั้นสื่อมวลชนต้องสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้เกิดขึ้นในประเทศ ช่วยกันพัฒนาประเทศ และยึดมั่นผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ตนมีจุดยืนในการทำงานแบบปิดทองหลังพระซึ่งเป็นสูตรในการทำงาน และมีวิสัยทัศน์คือมีความตั้งใจ ความปรารถนาเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น การปฏิรูปนั้น เป็นการฟ้องว่าหน่วยงานนั้นๆ มีความบกพร่องจึงต้องมีการปฏิรูปซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับการต่อต้านเนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนรู้ว่ามีความบกพร่องเกิดขึ้นในหน่วยงานของตนเอง และไม่ต้องการรับการแก้ไข ซึ่งทุกอาชีพควรมีการปฏิรูปตนเองก่อนไปปฏิรูปคนอื่น
ในการปฏิบัติงานนั้น ประธานฯ ไม่มีสิทธิใช้ความคิดเห็นส่วนตัวในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนและไม่สามารถตอบแทนสมาชิกได้ ซึ่งเป็นมารยาทที่สำคัญของการพูดรวมทั้งไม่มีสิทธิชี้นำต้องวางตัวเป็นกลาง สามารถพูดแทนสมาชิกได้เฉพาะมติของที่ประชุมเท่านั้น เพราะทุกคนมีคุณค่าในตัวเอง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นสภาวิชาการ เป็นสภาที่ปรึกษามีหน้าที่ศึกษาค้นคว้าวิจัยในแต่ละประเด็นโดยมีแผน มาตรการ วิธีการแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมเท่านั้น ดังนั้นสื่อมวลชนต้องเข้าใจว่าผู้มีอำนาจไม่สามารถตัดสินใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะมีตัวแปร มีเงื่อนไข และมีหลายมิติในทุกประเด็นปัญหาเป็นสหวิทยาการ จึงต้องมองหลายด้านด้วยกัน มีการพิจารณาอย่างรอบคอบและไม่ควรพิจารณาด้านเดียว
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถ.ประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2244 2500 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 5 ต.ค. 58) |
|
|
|