-- สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศสิ้นสุด ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2560 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
ข้อมูลข่าวสารการปฏิรูปประเทศและการจัดทำร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ
ฐานข้อมูลการดำเนินงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
เสียงปฏิรูปประเทศ
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่
ภาพยนตร์สั้นเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวภายหลังการประชุม

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 12 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันจันทร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยนำเสนอรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในการประชุมครั้งที่ ๕ วันจันทร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐ น. ดังนี้
 
เรื่องที่หนึ่ง พิจารณาต่อเนื่องกรอบแนวทางการดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนุญ ตามมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ดังนี้
     ๑. กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทำลายหลักการสำคัญที่รัฐธรรมนูญได้วางไว้ ตามมาตรา ๓๕(๙)
     ๒. กลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปเรื่องสำคัญต่างๆ ให้สมบูรณ์ต่อไป ตามมาตรา ๓๕(๑๐)
 
ข้อสรุปการพิจารณากรอบร่างรัฐธรรมนูยตามความมุ่งหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สรุปดังนี้
     ๑. การสร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพในการปฏิรูปและสร้างความปรองดอง ควรพิจารณาข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในการสร้างความปรองดองจะเกิดขึ้นได้จะต้องลดความเหลื่อมล้ำและใช้ระยะเวลาในการปรับความคิด โดยมีข้อเสนอให้นักการเมืองมีหน้าที่ทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้เกิดการยอมรับ ให้อภัย และตระหนักว่าการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนควรคำนึงการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ
     ๒. ควรวางหลักประกันเบื้องต้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกๆด้าน เช่น การเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชน หรือการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ เป็นต้น
 
เรื่องที่สอง การรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและการพิจารณาโครงสร้างและรูปแบบของร่างรัฐธรรมนูญ
     คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะได้ดำเนินการส่งหนังสือสอบถามความคิดเห็นในการยกร่างรัฐธรรมนูญไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประชาชน พรรคการเมือง มหาวิทยาลัย สภาวิชาชีพ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
     ทั้งนี้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไปแล้ว จำนวน ๕ คณะ ประกอบด้วย
     ๑. คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
     ๒. คณะอนุกรรมการรับฟังและสรุปความเห็นที่มีผู้เสนอแนะ
     ๓. คณะอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ
     ๔. คณะอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายบริหาร
     ๕. คณะอนุกรรมการยกร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
     ในวันนี้คณะอนุกรรมการโครงสร้างฝ่ายบริหารและคณะอนุกรรมการรับฟังและสรุปความเห็นที่มีผู้เสนอแนะ ได้มีการประชุมครั้งแรกและกำหนดกรอบรูปแบบการดำเนินงาน รวมทั้งมีการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ แล้ว โดยในการรับฟังความคิดเห็นฯ จะใช้วิธีการทำหนังสือขอความเห็นไปยังกลุ่มเป้าหมาย ส่วนในกลุ่มอื่นๆ คณะอนุกรรมการฯ จะได้เชิญตัวแทนมาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย โดยได้มีการดำเนินการต่อยอดเพิ่มเติมและยังคงช่องทางรับฟังความคิดเห็นจาก ตู้ ปณ.๙ และช่องทางออนไลน์ต่างๆ ดังกล่าวไว้ตามเดิม
 
 
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถ.ประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2244 2500 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 5 ต.ค. 58)