|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ |
|
|
|
|
|
|
-
กรอบการดำเนินงานสปช.
|
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ |
กมธ.ปฏิรูปสื่อฯ เตรียมเสนอรายงานปฏิรูปสื่อต่อที่ประชุมสปช.
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 14 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558
|
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และนายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ในนามคณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อสารมวลชนและเทคโนโยลีสารสนเทศ ร่วมกันแถลงข่าวถึงการเสนอการปฏิรูปสื่อ เพื่อเข้าสู่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ศึกษาแนวทางการปฏิรูปสื่อฯ สรุปกรอบความคิด หรือ Conceptual Design ว่าด้วยการปฏิรูประบบการสื่อสารเพื่อประชาชน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างเต็มที่ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ สิทธิเสรีภาพบนความรับผิดชอบ ยุทธศาสตร์ การป้องกันการแทรกแซงสื่อ และยุทธศาสตร์ การกำกับดูแลสื่อที่มีประสิทธิภาพ ทั้ง ๓ ยุทธศาสตร์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น เป็นฟันเฟือง ๓ ชิ้นของเครื่องจักรการปฏิรูปสื่อฯที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปสื่อไปสู่ความสำเร็จบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้และคณะกรรมาธิการยกร่างฯได้ใส่ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว นั่นคือ ข้อความที่ว่า สื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยต้องมีมาตรฐาน คุณภาพสูง สุด เพื่อประโยชน์สาธารณะ บนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพควบคู่กับจริยธรรมและความรับผิดชอบ โดยเป็นที่เชื่อถือทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ รวมถึงประชาชนมีสิทธิในการรับรู้ เข้าถึง เท่าทันสื่อ และมีส่วนร่วมในการสื่อสาร ที่สร้างสรรค์
สำหรับวิธีการ ขั้นตอนและกระบวนการปฏิรูปสื่อนั้น คณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อได้ศึกษา วิเคราะห์ ใช้ทั้งหลักวิชาการและประสบการณ์จากผู้ประกอบนักวิชาชีพด้านสื่อโดยให้ความสำคัญกับการรับฟังความเห็นนำมาประกอบ มีความเห็นว่า การปฏิรูปสื่อจะค่อยๆพัฒนาไปภายใต้กฏหมายที่สร้างระบบ และกลไกมารองรับต้องใช้เวลา ๑๐ ปี เรียกว่า หนึ่งทศวรรษแห่งการปฏิรูปสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทั้งนี้ ระบบและกลไกสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนการปฏิรูปสื่อ คือ การออกกฏหมายซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญ ได้ใส่เรื่องนี้ไว้แล้ว คณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการศึกษากฏมายเกี่ยวกับการจัดตั้ง องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมคุ้มครองสวัสดิภาพและสวัสดิการของสื่อมวลชนมีการประชุมกันไปหลายครั้ง มีความเห็นว่า จะตั้งองค์กรเรียกชื่อว่า สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ เปรียบเป็นร่มใหญ่ขององค์กรกำกับด้านจริยธรรมของสื่อประเภทต่างๆ ขณะเดียวกัน การกำกับจริยธรรมและส่งเสริม คุ้มครองเรื่องอื่นๆในระดับจังหวัด หรือภูมิภาค ก็จะต้องมีสภาวิชาชีพแยกย่อยลงไปตามจังหวัดหรือภูมิภาค เรียกว่าเป็นร่มเล็กขององค์กรที่เป็นกลไกกระจายออกไปให้ครอบคลุมทั้งประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่า องค์กรวิชาชีพของสื่อที่มีอยู่ก่อนแล้วจะต้องยกเลิก มีอยู่และดำเนินมาอย่างไรก็ดำเนินการกันไป เพราะเป็นสิทธิการรวมกลุ่มของประชาชนและผู้ประกอบวิชาชีพแบบสมัครใจ ไม่มีกฏหมายรองรับ
คณะอนุกรรมาธิการศึกษากฎหมายจัดตั้งองค์กรวิชาชีพสื่อที่เรียกว่าสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ กำลังรับพิจารณาว่า ร่มใหญ่กับร่มเล็กจะประสานกันอย่างไร องค์กรวิชาชีพที่มีอยู่แล้วจะเข้ามาร่วมกันแบบไหน ประชาชนในฐานะผู้บริโภคสื่อจะร่วมกำกับอย่างไร รวมไปถึง การหาแนวทางสร้างสรรค์ให้วิชาชีพสื่อ มีมาตรฐาน มีคุณภาพ เป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากรัฐและทุน การกำหนดอำนาจหน้าที่ของกสทช. การจัดตั้งกองทุนดูแลสวัสดิภาพและสวัสดิการของคนทำสื่อจะหาเงินจากไหน และจะใช้อย่างไร เป็นต้น เมื่อการจัดทำร่างกฎหมายสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติเสร็จ ซึ่งกำหนดไว้ภายในเดือนมิถุนายน กรกฎาคม จากนั้นจะเผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อรับฟังความเห็นคนในวงการสื่อและภาคส่วนอื่นๆในสังคมเพื่อนำมาปรับแก้ให้เหมาะสมเป็นร่างพ.ร.บ.ที่พร้อมเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ และดำเนินการตามขั้นตอน จนกระทั่งส่งให้คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
คณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อฯ ขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อทั้งเจ้าของ ผู้บริหาร และคนทำสื่อทุกแขนง ทุกสำนักได้แก่สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและทีวีกระแสหลัก วิทยุชุมชน ทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี ทีวีดิจิตอล เว็ปไซต์ สื่อออนไลน์ สื่อภาคพลเมือง ฯลฯ ทั้งส่วนกลาง ต่างจังหวัดได้ติดตามและให้ข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อฯจะรายงานวาระการปฏิรูปต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติในวันจันทร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสมาชิกสปช. จึงขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อฯและประชาชนที่สนใจรับฟังการถ่ายทอดทางสถานีวิทยุรัฐสภา วิทยุกรมประชาสัมพันธ์และทีวีรัฐสภา ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อฯกำหนดประชุมเช้าวันที่ ๑๕ พฤษภาคมนี้ เพื่อเตรียมการนำเสนอรายงานข้อเสนอโดยจะกำหนดประเด็นเนื้อหาและสปช. ที่จะอภิปราย
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57) |
|
|
|