-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« ตุลาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
   1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
โฆษกวิปสปช. แถลงข่าว

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันพุธที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ นายวันชัย สอนศิริ โฆษกกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏฺิรูปแห่งชาติ แถลงถึงผลการประชุมดังนี้
๑. ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศที่สภาปฏิรูปแห่งชาติส่งไปยังคณะรัฐมนตรีนั้น คณะรัฐมนตรีมิได้เพิกเฉยแต่อย่างใด ได้ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
๒. เร่งรัดวาระปฏิรูปเข้าสู่ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทุกวันจันทร์ อังคาร และพุธ โดยในวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘ จะเป็นการพิจารณาเรื่องการปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น และเรื่องประสิทธิภาพการบริหารราชการภาครัฐ ซึ่งคณะกรรมาธิการปฏฺิรูปบริหารราชการแผ่นดิน พิจารณาเสร็จแล้ว
๓. รายงานความคืบหน้าวาระปฏฺรูปที่ผ่านการพิจารณาของสภาปฏฺิรูปแห่งชาติไปแล้วมีจำนวน ๓๐ เรื่อง โดยทั้ง ๓๐ เรื่อง บางส่วนอยู่ในการปรับปรุงแก้ไข บางส่วนส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรี และบางส่วนส่งไปยังส่วนราชการต่างๆ แล้ว
๔. คณะรัฐมนตรีขอให้สภาปฏฺิรูปแห่งชาติดำเนินการด้านปฏิรูป ๓๖ วาระ ให้เป็นไปตามภารกิจและหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยขอให้นำเรื่องที่จะไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น และเป็นเรื่องที่มีความเห็นต่างกันน้อยที่สุด นำขึ้นมาพิจารณาก่อนเป็นลำดับแรก
๕. มอบหมายให้นายอลงกรณ์ พลบุตร นายไพโรจน์ พรหมสาส์น และนายวันชัย สอนศิริ เป็นกรรมการประสานงานร่วมกับสมาชิกสภาปฏฺิรูปแห่งชาติท่านอื่นๆ เพื่อทำให้การยื่นคำขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีความเป็นเอกภาพ ทั่วถึง มีการแปรญัตติเป็นไปด้ัวยความสอดคล้อง และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
๖. ตั้งคณะกรรมการกิจการปฏฺิรูปตำรวจ โดยมีผู้แทนจากคณะกรรมาธิการต่างๆ ดังนี้
- คณะกรรมาธิการปฏฺิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน
- คณะกรรมาธิการปฏฺิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
- คณะกรรมาธิการปฏฺรูปท้องถิ่น
- คณะกรรมาธิการปฏฺิรูปการเมือง
- คณะกรรมาธิการปฏฺิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
เพื่อพิจารณาหาข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการปฏฺิรูปตำรวจให้เกิดความชัดเจน ทัั้งนี้ประเด็นที่ยังไม่ตกผลึกกันคือ การแยกงานสอบสวนออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมาธิการปฏฺิรูปกฎหมายฯ มี ๒ ประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุปคือ จะแยกงานสอบสวนให้เป็นอิสระจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือจะแยกงานสอบสวนออกมาแต่ยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องหาข้อสรุปต่อไป เพราะเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจและการปฏิรูปตำรวจเป็นความหวังของสังคม
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)