|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ |
|
|
|
|
|
|
-
กรอบการดำเนินงานสปช.
|
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ |
คณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข ร่วมกันแถลงข่าวถึงความคืบหน้าการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 28 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558
|
วันอังคารที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ พลเอกชูศิลป์ คุณาไทย รองประธานกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข พร้อมคณะ ร่วมกันแถลงข่าวถึงการจัดทำและผลักดันนโยบาย รวมทั้งโครงการต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. ทำการศึกษาและผลักดันให้เกิดการใช้ระบบการแจ้งเหตุฉุกเฉินหมายเลขเดียว คือหมายเลข ๑๑๒ อันเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติการช่วยฉุกเฉิน ที่มีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการกับหน่วยงานที่รับแจ้งเหตุฉุกเฉินในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เหตุด่วนเหตุร้าย ๑๙๑ ไฟไหม้ กู้ภัย ดับเพลิง ๑๙๙ และ เหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ ๑๖๖๙ ตลอดจน ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เกิดการเชื่อมโยงร่วมมือกัน ประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงผู้ด้อยโอกาส คนพิการ สามารถโทรเบอร์เดียว ได้ทุกเหตุการณ์ ไม่สับสน สามารถโทรจากโทรศัพท์ทุกระบบ โทรมือถือแม้ไม่มีซิมการ์ด หรือ ถูกตัดสัญญาณมีระบบการบอกตำแหน่งของผู้โทร ครอบคุลมทุกพื้นที่ในประเทศไทย ทำให้ผู้ช่วยเหลือเข้าถึงจุดเกิดเหตุเร็วขึ้น หมายเลข ๑๑๒ เป็นหมายเลขที่ประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ของประเทศทั่วโลกใช้แจ้งเหตุฉุกเฉิน และจะเชื่อมต่อกับระบบฉุกเฉินของกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต อีกด้วย
๒. ศึกษาเพื่อปฏิรูประบบการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพแก่ประชาชนอย่างถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ พัฒนาศูนย์ความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพให้เป็นหน่วยงานกลางที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและการสื่อสาร ทำหน้าที่ รวบรวม คัดกรอง ติดตาม ประเมินผล และศูนย์รวมของข้อมูลด้านสุขภาพของประเทศ มีการบูรณาการจากหลายหน่วยงาน โดยให้ความสำคัญด้านการสื่อสารข้อมูลสุขภาพอันจะทำให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดคือประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ลดการเจ็บป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ เมื่อเจ็บป่วยแล้วยังสามารถใช้ความรู้ที่จะดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้สอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิพลเมืองย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องและทันสมัยจากรัฐและการปฏิรูประบบสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถมีข้อมูลพื้นฐานในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน
นอกจากนี้ยังทำการศึกษาเพื่อเสนอการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนชาวไทย
เช่น ปรับให้มีการกำหนดจำนวนพลังงานจากอาหารในฉลากโภชนาการ ผลักดันนโยบายลดเวลาการโฆษณาอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูงเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ยกเลิกการใช้สารตะกั่วในสีทาบ้านและยกเลิกนำเข้าแร่ใยหิน เพราะมีพิษภัยต่อผู้สัมผัส และการพัฒนาการป้องกันและควบคุมโรคที่พบบ่อยและมีอัตราการตายสูง เช่น มะเร็งตับ เป็นต้น |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57) |
|
|
|