|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ |
|
|
|
|
|
|
-
กรอบการดำเนินงานสปช.
|
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ |
โฆษกกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง แถลงข่าวถึงการเตรียมความพร้อมของกรรมาธิการฯ ในการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 31 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558
|
วันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๒.๔๕ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช โฆษกกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ได้แถลงว่าที่ประชุมกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ได้มีการประชุมเพื่อเตรียมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๒๐ ๒๖ เมษายน นี้ว่าที่ประชุมได้มีมติให้กรรมาธิการจำนวน ๕ คน ประกอบด้วย นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการฯ นายดิเรก ถึงฝั่ง นายนิรันดร์ พันทรกิจ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช และนายนันทวัฒน์ บรมานันท์ เป็นผู้อภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ในนามตัวแทนของกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง โดยประธานกรรมาธิการฯ จะเป็นผู้อภิปรายในประเด็นโครงสร้างทางการเมือง และองค์กรอิสระ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ ๓๐ - ๔๕ นาที จากนั้นกรรมาธิการ อีก ๔ คน จะแบ่งกันอภิปราย รวมทั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองก็สามารถอภิปรายได้เช่นกัน ซึ่งกรอบของการอภิปรายจะได้คนละ ๑๒ นาที ทั้งนี้ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ยอมรับว่าการทำหน้าที่ของประธานในที่ประชุม ต้องมีเวลาเพียงพอเพื่อให้สมาชิกฯ อภิปรายได้อย่างเต็มที่และเกิดประสิทธิภาพ อาจมีการยืดหยุ่น การอภิปรายได้จนถึง เวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา โดยขึ้นอยู่กับการอภิปรายในแต่ละวัน ส่วนเรื่องการได้มาของนายกรัฐมนตรีนั้นควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผ่านการเห็นชอบ โดยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด สำหรับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภานั้น ควรมีการเลือกตั้งโดยตรงจากจังหวัดๆ ละ ๑ คน และ อีก ๑๒๓ คน นั้นมาจากกลุ่มอาชีพ และผู้ที่มีความรู้ด้านต่างๆ
ทั้งนี้ แม่น้ำสองสาย คือ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง แม้มีหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกันแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้กำหนดให้มีความเชื่อมโยง และทำงานร่วมกันโดยถือเอาสิ่งที่ดีที่สุดไปกำหนดในรัฐธรรมนูญ สำหรับการอภิปรายของกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองจะอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ โดยเสนอแนวทางและให้ความเห็นในประเด็นต่างๆ ที่มีเหตุและผลต่อกัน โดยไม่มีการขัดแย้งกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57) |
|
|
|