-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง รับหนังสือจากตัวแทนสมาพันธ์ครู ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะผู้อำนวยการครู ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 15 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ รองศาสตราจารย์ทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ประธานอนุกรรมาธิการการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนามนุษย์ในสังคมพหุวัฒนธรรม พร้อมด้วยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในจังหวัดภาคใต้ ร่วมกันรับหนังสือจากตัวแทนสมาพันธ์ครู ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะผู้อำนวยการโรงเรียนจาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อเสนอความเห็นต่อการปฏิรูปเกี่ยวกับการศึกษาที่มีผลกระทบจากปัญหา ๓ จังหวัด โดยได้เสนอ ๔ ประเด็นดังนี้
๑. ต้องการให้มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทุกฝ่ายได้ร่วมกันคิดหลักสูตร เพื่อให้มีความเป็นเอกภาพทางการศึกษา และเน้นการสอนที่ทำให้คนเกิดการอ่านออกเขียนได้ ปลูกฝังค่านิยมที่จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ตามค่านิยม ๑๒ ประการตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายไว้ โดยเชื่อว่าการศึกษาจะสามารถแก้ไขปัญหาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
๒. ชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการศึกษา โดยอาจเข้ามาเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา หรือที่ปรึกษาการจัดการหลักสูตรการศึกษา เป็นต้น
๓. เน้นการจัดการศึกษาโดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ โดยให้คนในพื้นที่เกิดความรู้ความเข้าใจ และมีความรู้ เพื่อให้คนเหล่านี้มาช่วยกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่
๔. ขอให้ภาครัฐดูแลเรื่องขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรครูใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในเรื่องความปลอดภัย และกระบวนการจัดการศึกษา โดยต้องมีความโปร่งใสเป็นธรรม ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาระยะสั้น คือ การให้ความช่วยเหลือแก่บุคลากรที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต และการดูแลทายาทของผู้เสียชีวิตให้มีอาชีพต่อไป
ทั้งนี้ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ได้กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ปัญหาดังกล่าวมีมาอย่างยาวนาน และทุกรัฐบาลต่างตระหนักถึงปัญหาและพยายามหาทางแก้ไขมาโดยตลอด โดยในวันนี้มีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในจังหวัดภาคใต้ได้มาร่วมรับฟังปัญหาด้วย และจะได้นำปัญหาที่ได้เสนอมานั้นไปดำเนินการตามส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
จากนั้น นายประเสิรฐ ชิตพงศ์ ประธานอนุกรรมาธิการการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนามนุษย์ในสังคมพหุวัฒนธรรม ได้กล่าวว่า ทางคณะอนุกรรมาธิการฯ มิได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยขณะนี้ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งในเรื่องของการศึกษา ความปลอดภัย และความมั่นคง ฯลฯ
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)