-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« ตุลาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
   1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแถลงผลการประชุมกมธ. ประจำวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 11 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประจำวันนี้ โดยที่ประชุมได้นำเสนอรายงานความคืบหน้าในการทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้
๑. รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการคณะที่ ๘ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับภาค ๓ นิติธรรม ศาล และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด ๒ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ) ได้พิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญและกำนหนดกรอบแนวทางเบื่้องต้นในการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้ ในหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ต้องอยู่บนพื้นฐานและเป็นไปตามหลักการสำคัญคือ กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐต้องเป็นไปโดยเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และการใช้อำนาจรัฐต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่องค์กรตรวจสอบย่อมได้รับการถ่วงดุลตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน โดยกำหนดกรอบในการจัดทำเป็น ๔ ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ ๑ บุคคลที่จะถูกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญนี้ จะครอบคลุมทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน
ส่วนที่ ๒ ประเด็นหารือในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ส่วนที่ ๓ กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ส่วนที่ ๔ กลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ แบ่งเป็น ๓ รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ ๑ องค์กรตรวจสอบภาครัฐ รูปแบบที่ ๒ แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ สภาตรวจสอบภาคประชาชน สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ และสภาคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและคุ้มครองผู้บริโภค
นอกจากนี้ที่ประชุมยังให้มีการทบทวนภารกิจขององค์กรที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ (กลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรของรัฐ) ได้กำหนดหลักการดังนี้
- ให้ใช้คำว่า "องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" แทนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และใช้คำว่า "องค์กรกำกับดูแลอื่น" แทนองค์กรตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
- ให้มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
- หลักการตรวจสอบอำนาจรัฐ มีดังนี้ องค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐต้องดำเนินการเป็นไปโดยเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ สุจริตและเที่ยงธรรม และปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐจะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาแต่ละขั้นตอน
- ให้ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตรวจสอบใช้อำนาจรัฐเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและข้อมูลการเสียภาษีต่อสาธารณะ
ทั้งนี้ในการประชุมในวันศุกร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ นายโภคิน พลกุล ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย จะเข้าร่วมประชุมและแสดงข้อคิดเห็นในลักษณะส่วนตัวต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นจะเป็นการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๓
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)